การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการไทยโดยใช้เกณฑ์การประเมิน เข้าสู่ฐานข้อมูล Scopus

Main Article Content

สุตพิชญ์ชา ธงดาชัย
อานนท์ พงษ์ใหญ่

บทคัดย่อ

การเตรียมความพร้อมให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล อาจทำให้ความยากลำบากในการปรับตัวที่บ้านมีน้อยลง และลดการใช้บริการทางด้านสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่ายและการใช้บริการด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชน 6 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล แบบประเมินความยาก ลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่าย และแบบสอบถามการใช้บริการสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาด้วยสถิติสัมสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและพอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่าง มีความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลอยู่ในระดับสูง มีความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลอยู่ในระดับน้อย และมีการรับการรักษาซ้ำในระยะ 1 เดือน หลังจำหน่าย ร้อยละ 26.40 2.ความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่ายมีความสัมพันธ์ทางลบกับความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.220, p < .05) 3. การใช้บริการด้านสุขภาพ ด้านการมาตรวจที่แผนกฉุกเฉินมีความสัมพันธ์ทางลบกับความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = -.262, p < .01) 4. การใช้บริการด้านสุขภาพ ด้านการรับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาล 1 เดือนหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล มีความสัมพันธ์ทางลบกับความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = -.320, p < .01) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับพยาบาลในการพัฒนาโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล เพื่อลดความยากลำบากในการปรับตัวหลังจำหน่าย สามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่องเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน และมีอัตราการกลับเข้ามารักษาซ้ำในโรงพยาบาลลดลง

Article Details

How to Cite
ธงดาชัย ส., & พงษ์ใหญ่ อ. (2019). การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการไทยโดยใช้เกณฑ์การประเมิน เข้าสู่ฐานข้อมูล Scopus. วารสารทดสอบศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (ใช้ทดสอบระบบเท่านั้น), 10(2), 1–20. https://doi.org/10.1234/demoj.2022.231900
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2547). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬารัตน์ สุริยาทัย, ดิเรก สุดแดน, วัชรีกร ภิมาลย์, วริสรา ทากัน, เพียรทอง มังคละ, มณีวรรณ วงศ์สุข, และ ปิยพร บุณยวัฒน. (2556). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างต่อเนื่องในชุมชน.นนทบุรี:แผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อกระทรวงสาธารณสุข.

บุญชู อนุสาสนนันท์, กนกพร สุคำวัง, วราวรรณ อุดมความสุข, วันทนีย์ แสงวัฒนะรัตน์, และขจรวรรณ ทินกร ณ อยุธยา. (2558). ปัจจัยทำนายความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาทาง ศัลยกรรมในโรงพยาบาลตติยภูมิ. พยาบาลสาร, 42(6), 24-34.

ศรินรัตน์ ศรีประสงค์, สมจิต หนุเจริญกุล, อรสา พันธ์ภักดี, รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์,คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, และธวัชชัย วรพงศธร. (2554). ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้ความพร้อมก่อนออกจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยกล้ามเนื้อ หัวใจตายเฉียบพลัน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 22(2), 44-57.

Blinderman, C. D., Homel, P.,Billings, J. A., Tennstedt, S., and Portenoy, R. K. (2009). Symptom distress and quality of life in patients with advanced chronic obstructive pulmonary disease. Journal of Pain and Symptom Management. 38(1), 115 – 123.

British Lung Foundation. Ready for home?: Improving hospital discharge care for people living with COPD. [Internet]. 2010 [cited 2015 Mar 29]. Available from: https://www.brit-thoracic.org.uk/ document-library/clinical-information/ copd/ready-for-home-improving-hospital-discharge- care-for-people-living-with-copd/

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD) Executive Committee. Global strategy for the diagnosis, management and prevention of chronic obstructive pulmonary disease [Internet]. 2011 [cited 2011 Mar 29]. Available from: https://www.goldcopd.com

Lawati, N.A., and J. Mark FitzGerald J. (2008). Acute exacerbation of chronic obstructive pulmonary disease. British Columbia medical journal. 50(3), 138-142.

Meleis, A.I., and Trangenstein, P.A. (1994). Facilitating transitions: Redefinition of the nursing mission. Nursing Outlook. 42, 255–259.

Miller, J.F.,Piacentine, L., and Weiss, M. (2008). Coping difficulties after hospitalization. Clinical Nursing Research. 17(4), 278-296.

Naylor, M., and Keating, S.A. (2008).Transitional Care: Moving patients from one care setting to another. American Journal of Nursing. 108(9): 58–63.

Most read articles by the same author(s)