นวัตกรรมแผนที่กับความสำคัญต่อภูมิรัฐศาสตร์: กรณีศึกษาเมืองข้าว-เมืองปลา (รังสิต-ธัญบุรี-มีนบุรี)

Main Article Content

อรรคพล สาตุ้ม

บทคัดย่อ

แผนที่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยแสดงเส้นทางเดิน ถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร ในทางภูมิศาสตร์ แผนที่มีความสำคัญต่อการศึกษาข้อมูลเพื่อประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางการเมือง ในฐานะคือฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ในปัจจุบัน แผนที่ถูกนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างกว้างขวางตามความเจริญก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีจากการที่จำนวนประชากรเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการวางผังเมืองให้เหมาะสมกับการขยายตัวของชุมชน และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจึงเพิ่มมากตามมา แผนที่จึงมีความสำคัญต่อการนำข้อมูลไปคิดวิเคราะห์เพื่อหาศักยภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศตลอดจนทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนที่เป็นเครื่องมือสำคัญของนักภูมิรัฐศาสตร์ เพื่อใช้ศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์ และนำมาวางแผนดำเนินการเตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศ สภาพภูมิศาสตร์ และตำแหน่งทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องเกี่ยวกับ ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ     การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืนนั้น แผนที่เป็นสิ่งแรกที่ต้องผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้งานในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ทราบทำเลที่ตั้ง สภาพทางกายภาพ แหล่งทรัพยากร ช่วยให้เข้าใจภาพรวม และความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ได้มากขึ้น ทำให้วางแผนและพัฒนาเป็นไปได้อย่างสะดวก และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสภาพแวดล้อมทางสังคม และสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จำเป็นต้องอาศัยแผนที่ช่วยให้การดำเนินการวางแผนพัฒนาสังคมเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง   ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมต้องอาศัยการอ่านรายละเอียดในแผนที่ทั้งในอดีต และปัจจุบันเพื่อเปรียบเทียบกัน และเพื่อประโยชน์ในการแสวงหาข้อมูล หรือสมมุติฐานของ เหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคต ดังกรณีศึกษาแผนที่แผ่นดินของเมืองปลาคู่เมืองข้าว มีนบุรี ธัญบุรี รังสิต จังหวัดปทุมธานี

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

[1] อรรคพล สาตุ้ม. 2548. ผลกระทบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติในแม่น้ำโขงตอนบน: การหายไปของปลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[2] โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. 2564. ประวัติการทำแผนที่ประเทศไทย เล่มที่ 12 เรื่องที่ 10 แผนที่. (ออนไลน์)สืบค้นจาก: https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=12&chap=10&page=t12-10-infodetail02.html. 8 พฤษภาคม 2564.
[3] กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. 2562. รัชกาลที่ 5 ทรงอนุญาตขุด “คลองรังสิต” ในทุ่งหลวงเหนือกรุงเทพฯ ที่มีโขลงช้าง และไข้ป่า (ออนไลน์) สืบค้นจาก: https://www.silpa-mag.com/history/article_28515. 8 พฤษภาคม 2564.
[4] พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. 2564. ชีวประวัติของทุ่งรังสิต: จากสมัน นาข้าว สาวโรงงาน ถึงนักศึกษา และเหี้ย. (ออนไลน์) สืบค้นจาก: https://museum.socanth.tu.ac.th/knowledge/past-exhibition. 8 พฤษภาคม 2564.
[5] สุนทรี อาสะไวย์. 2521. การพัฒนาระบบการชลประทานในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2431-พ.ศ. 2493. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. คณะอักษรศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. 2555. ประมวลแผนที่: ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์-การเมือง กับลัทธิอาณานิคมในอาเซียน-อุษาคเนย์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
[7] ธงชัย วินิจจะกูล. 2530. ประวัติศาสตร์การสร้างตัวตน: รวมบทความสังคมการเมืองเพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ในโอกาสอายุครบ 60 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์.
[8] สันติสุข โสภณสิริ. 2542. ปรีดี พนมยงค์ กับการสร้างสรรค์สติปัญญาอย่างไทย. มูลนิธิ
เด็ก. กรุงเทพฯ.
[9] สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา. 2559. น้ำ: บ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนา
พานิช.
[10] William J. Abernathy. Kim B. Clark. 1985. Innovation: Mapping the winds of creative
destruction.Research Policy, 1985, vol. 14, issue 1, 3-22.
[11] วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์. 2554. แบบไหนดี Technology Push หรือ Demand Pull. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.gotoknow.org/posts/248457. 8 พฤษภาคม 2564.
[12] เบเนดิก แอนเดอร์สัน. 2552. ชุมชนจินตกรรม : บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ.
[13] ธงชัย วินิจจะกูล, พวงทอง ภวัครพันธุ์, ไอดา อรุณวงศ์, พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์. 2556. กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟร่วมกับสำนักพิมพ์อ่าน.