Submissions
Submission Preparation Checklist
As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
- The article has never been published anywhere else. and must not be in the process of submitting a proposal for publication in another journal
- The article consists of the following elements: Title, all authors, abstract, keywords, no more than half a page of A4 paper, both Thai and English, with all authors' workplaces
- The article uses a single-page A4 paper size, not more than 10 - 15 pages, using the font TH SarabunNew, both Thai and English. By following the instructions for preparing the original article already.
- If your article has been sent to a qualified person for consideration, if later The author/submit of the article requests to cancel the review of the article for publication. The author/submission of the article must pay the cost of compensation for all qualified persons considering such articles.
- Please enter your phone number in "Comment for Editor" for ease of coordination.
Author Guidelines
วารสารวิชาการเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (Defence Technology Academic Journal: DTAJ) เป็นวารสารของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สำหรับเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ทางวิชาการและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม นวัตกรรมการบริการด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ การจัดการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การออกแบบการผลิต การประกอบรวม การปรับปรุงการซ่อมสร้าง การเปลี่ยนลักษณะ การแปรสภาพ หรือการให้บริการซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการป้องกันประเทศ
- เพื่อส่งเสริมกระบวนการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านการป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
- เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย นักนวัตกรรม อาจารย์ นักศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ขอบเขตสาขาวิชา
สาขาวิชาที่รับตีพิมพ์ ได้แก่
- วิทยาศาสตร์
- สาขาคณิตศาสตร์
- สาขาเคมี
- สาขาฟิสิกส์
- สาขาสถิติศาสตร์
- วิศวกรรมศาสตร์
- สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
- สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- สาขาวิศวกรรมเคมี
- สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม
- สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
- สาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน - เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
- สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- สาขาภูมิสารสนเทศ
- สาขาการจัดการนวัตกรรม
- สาขานวัตกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ - นวัตกรรมการบริการด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
- การจัดการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
- การออกแบบการผลิต การประกอบรวม การปรับปรุงการซ่อมสร้าง การเปลี่ยนลักษณะ การแปรสภาพผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการป้องกันประเทศ
ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์
- บทความวิจัย (Research Articles) หมายถึง บทความที่เขียนจากรายงานวิจัย รายงานผลการศึกษา จากข้อมูลเชิงปฐมภูมิอันเป็นผลมาจากการวิจัยและพัฒนาที่เป็นนวัตกรรมในด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี หรือด้านการป้องกันประเทศ โดยสรุปย่อกระบวนการวิจัยให้อยู่ในรูปแบบของบทความที่มีความกระชับตามโครงสร้างและองค์ประกอบของบทความวิจัย โดยมีความยาวบทความ 10-15 หน้ากระดาษ A4
- บทความวิชาการ (Academic Articles) หมายถึง บทความที่เขียนจากการรวบรวมความรู้ การทบทวนวรรณกรรม ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่อง ในสาขาที่รับตีพิมพ์ โดยเรียบเรียงเนื้อหาขึ้นใหม่ เพื่ออธิบาย วิเคราะห์ข้อมูลจากเนื้อหาหรือเสนอแนะองค์ความรู้ทางวิชาการ นวัตกรรม ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีความยาวบทความ 10-15 หน้ากระดาษ A4
- บทความวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ (Defence Analysis Articles) หมายถึง บทความที่เขียนจากการรวบรวมความรู้ วิเคราะห์ เพื่อนำเสนอแนวโน้มหรือภาพรวมด้านเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์
**วารสารวิชาการเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ**
การพิจารณาบทความ (Peer Review Process)
- บทความวิชาการและบทความวิจัย ทุกบทความต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็น ทบทวน ตรวจสอบ วิพากษ์ วิจารณ์ ความถูกต้องเหมาะสมทางวิชาการ จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ใน 3 ท่าน ต่อบทความ ในรูปแบบ Peer-review โดยเป็นการประเมินแบบปกปิดสองทาง (Double blind)
- บทความวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ ต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็น ทบทวน ตรวจสอบ วิพากษ์ วิจารณ์ ความถูกต้องเหมาะสมทางวิชาการ จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ท่าน ต่อบทความ ในรูปแบบ Peer-review โดยเป็นการประเมินแบบปกปิดสองทาง (Double blind review)
ขั้นตอนการประเมินบทความ มีกระบวนการดังต่อไปนี้
- ผู้เขียนส่งไฟล์บทความมายังระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ของวารสารวิชาการเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
- กองบรรณาธิการดำเนินการตรวจสอบหัวข้อ บทคัดย่อ และเนื้อหาของบทความ รูปแบบการจัดพิมพ์บทความ ตรวจการคัดลอกบทความ (Plagiarism Checker) และความเหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสารฯ
- ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรรับไว้พิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะดำเนินการจัดส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องพิจารณาตรวจสอบคุณภาพของบทความว่ามีความเหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์หรือไม่ โดยกระบวนการพิจารณากลั่นกรองนี้เป็นการประเมินแบบปกปิดสองทาง (Double blind review) ซึ่งจะไม่เปิดเผยชื่อผู้ส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิทราบ และไม่เปิดเผยชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนทราบ และกองบรรณาธิการจะไม่เปิดเผยทั้งชื่อผู้เขียนและชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้บุคคลอื่นทราบด้วยเช่นกัน
- เมื่อบทความได้รับการทบทวน ประเมิน วิจารณ์ จากผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะดำเนินการดังต่อไปนี้
- กรณีมีความเห็นให้ผู้เขียน แก้ไขบทความ (Revision Require) กองบรรณาธิการจะจัดส่งผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงคำแนะนำจากบรรณาธิการให้ผู้เขียนแก้ไขบทความ และเมื่อแก้ไขเสร็จแล้วให้ส่งกลับคืนมายังบรรณาธิการ เพื่อพิจารณาใหม่อีกครั้ง โดยอาจส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบผลการแก้ไข หรือ บรรณาธิการตรวจสอบด้วยตนเอง ซึ่งหากต้องมีการแก้ไขในรอบที่สอง (Round 2) ก็จะดำเนินการส่งกลับไปยังผู้เขียนให้แก้ไข และตรวจสอบผลการแก้ไข จนกว่าจะมีเนื้อหาบทความสมบูรณ์
- กรณีมีความเห็นให้ ปฏิเสธการรับตีพิมพ์ (Decline Submission) กองบรรณาธิการจะแจ้งผลดังกล่าวให้ผู้เขียนรับทราบ
- กรณีมีความเห็นให้ ตอบรับการตีพิมพ์ (Accept Submission) กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ และดำเนินการส่งไฟล์บทความเข้าสู่ขั้นตอนการปรับแก้ไขต้นฉบับ การพิสูจน์อักษร และการจัดรูปแบบเอกสารตามเทมเพลตบทความของวารสารฯ ก่อนนำไปเผยแพร่โดยฝ่ายจัดการวารสาร
ทั้งนี้ ในการพิจารณาบทความทั้งหมดจะดำเนินการผ่านทางระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ของวารสารวิชาการเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ภายใต้ระบบเว็บไซต์ ThaiJo (Thai Journal Online) เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐานสากล
กำหนดระยะเวลาการเผยแพร่
วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี
- ฉบับที่ 1 : มกราคม – มิถุนายน
- ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม – ธันวาคม
หลักเกณฑ์การพิจารณากลั่นกรองบทความ
- บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด
- บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพทางวิชาการ และมีประโยชน์ในเชิงทฤษฎีหรือเชิงปฏิบัติ โดยผ่านการพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ซึ่งต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐาน คือเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น ๆ ทำงานวิจัยและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง จำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ท่าน ต่อบทความ ในบทความวิชาการและบทความวิจัย และจำนวนอย่างน้อย 2 ท่าน ในบทความวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ/หรือ ผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการเป็นรายกรณี
การจัดเตรียมต้นฉบับบทความ
ต้นฉบับที่ส่งมาเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ผู้เขียนสามารถจัดเตรียมต้นฉบับได้ทั้งในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตามข้อกำหนดของวารสารฯ ดังนี้
- บทความจัดพิมพ์ลงบนการดาษ A4 มีความยาวอยู่ระหว่าง 10 - 15 หน้า หรือไม่น้อยกว่า 2,500 คำ โดยการใช้คำสั่ง Word count ใน Microsoft Word เพื่อนับคำ ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นระยะขอบด้านบนและล่าง 3 ซม. เว้นระยะขอบด้านซ้ายและขวา 2.5 ซม.
- พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word พิมพ์ด้วยรูปแบบอักษร (Font) TH Sarabun New ขนาด 14 ตัวอักษรต่อนิ้ว ทั้งอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระยะห่างบรรทัด 1 เท่า (Single space)
- การใช้ภาษาไทยให้ยึดคำสะกดและคำแปลความหมายตามหลักราชบัณฑิตยสถาน โดยใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และใช้ภาษาอังกฤษในกรณีที่ไม่มีคำสะกดในภาษาไทยหรือมีความจำเป็น การใช้ อักษรย่อ ต้องเขียนคำเต็มไว้ในการเขียนครั้งแรกก่อน และไม่ใช้คำย่อที่ไม่เป็นมาตรฐาน ยกเว้น การย่อเพื่อเขียนเนื้อหาให้กระชับขึ้น การแปลศัพท์อังกฤษเป็นไทย หรือการเขียนทับศัพท์ ให้ยึดตามหลักราชบัณฑิตยสถาน
- รูปแบบและขนาดตัวอักษร มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
รูปแบบ (Types of texts) |
บทความภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ (ตัวอักษรแบบ TH Sarabun New) |
|
ขนาด (Size) |
ตัวพิมพ์อักษร (Typeface) |
|
ชื่อบทความ (Title) |
20 |
ตัวหนา (Bold) |
ชื่อผู้เขียน (Author & co-authors) |
16 |
ตัวหนา (Bold) |
อีเมลผู้เขียนที่เป็นผู้รับผิดชอบหลัก (Corresponding author) |
12 |
ตัวธรรมดา (Normal) |
หัวเรื่องบทคัดย่อ (Abstract heading) |
16 |
ตัวหนา (Bold) |
บทคัดย่อและเนื้อเรื่องหลัก (Abstract & main texts) |
14 |
ตัวธรรมดา (Normal) |
คำสำคัญ (Keywords) |
14 |
ตัวหนา (Bold) |
หัวข้อเรื่องหลักและตัวเลข (Section heading & number)* |
16 |
ตัวหนา (Bold) |
หัวข้อเรื่องรองและตัวเลข (Subsection heading & number) |
14 |
ตัวหนา (Bold) |
* ข้อกำหนดครอบคลุมทั้ง “กิตติกรรมประกาศ” “เอกสารอ้างอิง” และ “ภาคผนวก (ถ้ามี)”
หน้าแรก (บทความวิจัย และ บทความวิชาการ)
หน้าแรกของบทความจะประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนและผู้เขียนร่วม บทคัดย่อ และเชิงอรรถบ่งบอกสังกัดหน่วยงานของผู้เขียนและผู้เขียนร่วม ให้พิมพ์หน้าแรกทั้งแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างละ 1 หน้า เรียงตามลำดับ โดยจัดหน้าเป็นแบบ 1 คอลัมน์ กว้าง 15.2 ซม.
- ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้นกะทัดรัดและสื่อถึงเป้าหมายหลักของบทความ ชื่อเรื่องสำหรับบทความภาษาไทย ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ ขนาดและตัวพิมพ์อักษรตามที่ระบุในตารางข้างต้น
- ชื่อผู้เขียน (Author name) เขียนต่อจากชื่อเรื่อง ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ใส่ยศหรือตำแหน่งวิชาการ ในกรณีที่มีผู้เขียนมากกว่า 1 คน ให้เรียงชื่อตามลำดับตามการมีส่วนร่วมทางปัญญา จากชื่อแรกมีส่วนร่วมมากที่สุดเรียงไปจนถึงชื่อสุดท้ายมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ตามลำดับ
พิมพ์อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ ไว้หลังชื่อเรื่อง และเว้น 1 บรรทัด ทั้งด้านบนและใต้ชื่อผู้เขียน ถ้ามีผู้เขียนมากกว่า 1 คน ให้พิมพ์คำว่า “และ” หน้าชื่อคนสุดท้าย และให้ใช้ตัวเลขอารบิคพิมพ์แบบตัวยกต่อท้ายชื่อ เพื่อแสดงความแตกต่างของสังกัดหน่วยงาน
- สังกัดหน่วยงาน (Work place of author & co-authors) แสดงสังกัดหน่วยงานของผู้เขียนทุกคนขณะทำการวิจัย และอีเมล (E-mail) เฉพาะของผู้รับผิดชอบหลักบทความ (Corresponding author) แทรกเป็นตัวเลขเชิงอรรถตามลำดับด้านท้ายหน้าแรก โดยพิมพ์สังกัดหน่วยงานของผู้เขียนเรียงตามหมายเลข และจัดให้อยู่ส่วนล่างสุดของหน้าแรกใต้เส้นตรงสีดำ ซึ่งมีความยาวเท่ากับระยะกั้นหน้า-หลัง
- บทคัดย่อ (Abstract) เขียนเนื้อความย่อตามลำดับโครงสร้างของบทความ ได้แก่ ความสำคัญ วัตถุประสงค์ (Background and Purpose) วิธีการวิจัย (Methods) ผลการวิจัย (Results) และบทสรุป (Conclusions) โดยใช้ภาษาที่เหมาะสม ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย สื่อความหมายได้กระชับชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเริ่มบทคัดย่อภาษาไทยก่อนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่ควรเกิน 300 คำ พิมพ์หัวเรื่องคำว่า “บทคัดย่อ” สำหรับบทคัดย่อภาษาไทย และ “Abstract” สำหรับบทคัดย่อภาษาอังกฤษ โดยจัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ สำหรับคำว่า “Abstract” เฉพาะตัวอักษร “A” เท่านั้นที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนเนื้อความให้จัดพิมพ์เป็นแบบ 1 คอลัมน์ โดยบรรทัดแรกให้ย่อหน้า 1.5 ซม. ไม่ควรใส่เอกสารอ้างอิงใด ๆ ในบทคัดย่อ
- คำสำคัญ (Keywords) ระบุคำสำคัญในแต่ละภาษา เขียนด้านท้ายบทคัดย่อ ให้ใช้คำที่สื่อความหมายกับเนื้อหาของงานวิจัย จำนวน 3 - 5 คำ ให้พิมพ์หัวเรื่องคำว่า “คำสำคัญ” ไว้ใต้บทคัดย่อภาษาไทย เว้น 1 บรรทัด และจัดชิดซ้ายของคอลัมน์ และให้พิมพ์หัวเรื่องคำว่า “Keywords” (เฉพาะตัวอักษร “K” เท่านั้นที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่) โดยพิมพ์ไว้ใต้บทคัดย่อภาษาอังกฤษ เว้น 1 บรรทัด
เนื้อเรื่องของบทความวิจัย
ประกอบด้วย บทนำ (Introduction) วิธีการวิจัย (Methods) ผลการวิจัย (Results) วิจารณ์/อภิปรายผล (Discussion) บทสรุป (Conclusions) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) (ถ้ามี) เอกสารอ้างอิง (References) และภาคผนวก (ถ้ามี)
ให้พิมพ์เป็น 2 คอลัมน์ โดยไม่ต้องเว้นบรรทัด เมื่อจะขึ้นหัวข้อใหม่ให้เว้น 1 บรรทัด การพิมพ์หัวข้อให้พิมพ์ชิดซ้ายของแต่ละคอลัมน์ การลำดับหัวข้อในเนื้อเรื่องให้ใส่เลขกำกับ โดยให้บทนำเป็นหัวข้อหมายเลขที่ "1." และหากมีการแบ่งหัวข้อย่อย ให้ใช้ระบบเลขทศนิยมกำกับหัวข้อย่อย เช่น 1.1, 1.1.1, 1.2, 1.2.1 เป็นต้น
- บทนำ (Introduction) เขียนแสดงที่มาและความสำคัญของปัญหา แนวคิดและทฤษฎี วัตุประสงค์ เหตุผลความจำเป็นของการศึกษา มีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับบทความและตรงกับวัตุประสงค์โดยให้ข้อมูลและอ้างอิงงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง
- วิธีการศึกษา (Methods) ให้ระบุระเบียบวิธีการวิจัย เครื่องมือวิจัย (ถ้ามี) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (ถ้ามี) วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือทางสถิติที่ใช้
- ผลการศึกษา (Results) ให้เขียนรายงานผลการศึกษาหรือผลการทดลอง โดยเป็นการบรรยายเนื้อหาจากข้อมูลทางสถิติที่ค้นพบจากงานวิจัย และ/หรือ ผ่านทางตาราง รูปภาพ แผนภูมิ
- อภิปรายผล (Discussion) วิเคราะห์ สังเคราะห์ อภิปรายข้อมูลที่ได้มาจากผลการวิจัยข้างต้น ควรมีการอ้างอิงงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ไม่อธิบายโดยไม่มีหลักการ
- บทสรุป (Conclusions) เขียนสรุปสิ่งที่ได้ดำเนินการและแสดงให้เห็นความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย จากข้อมูลของผลการศึกษาและการอภิปราย มีลำดับของเนื้อหาทั้งส่วนนำ เนื้อหา และบทสรุปที่เหมาะสม อ่านเข้าใจง่าย กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัยและให้ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยต่อไปในอนาคต
เนื้อเรื่องของบทความวิชาการ
- บทนำ (Introduction) เขียนแสดงที่มา ภูมิหลัง ความสำคัญ ขอบเขตของเรื่องที่ต้องการอธิบาย แสดงวัตถุประสงค์ และอาจให้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับจากบทความ โดยสามารถอ้างอิงเอกสารร่วมด้วย เพื่อเน้นย้ำในประเด็นของหัวข้อดังกล่าว ความยาวของบทนำควรอยู่ระหว่าง 5 - 10% ของส่วนเนื้อหา
- เนื้อหา (Content) ผู้เขียนสามารถเขียนอธิบาย วิธีการ หลักการทฤษฎี วิธีการรวบรวมข้อมูล ข้อมูล และให้เหตุผลของประเด็นที่เขียน โดยอาศัยตาราง รูปภาพ แผนภูมิ เพื่อประกอบคำอธิบายและอ้างอิงเอกสารร่วมด้วย โครงสร้างการเขียนสามารถเรียงลำดับหัวข้อตามความเหมาะสมของผู้เขียนอย่างเป็นลำดับ แต่ละหัวข้อมีความสมบูรณ์ในตนเอง ไม่ยาวไปหรือมากจนเกินไปจากสัดส่วนของบทความทั้งหมด
- บทสรุป (Conclusions) เขียนสรุปสิ่งที่ได้อธิบายความ ข้อดีข้อเสีย หรือเสริมส่วนที่ไม่ปรากฏในเนื้อหา หรือย้ำในสิ่งสำคัญของเรื่อง และแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ หรือตัดสินความในประเด็นที่ปรากฏในงานเขียน อย่างไรก็ดี ไม่ควรเขียนนอกเรื่องที่ไม่ปรากฏในบทความ
การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง (Cite and References)
วารสารวิชาการเทคโนโลยีป้องกันประเทศใช้การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงตามรูปแบบของ IEEE (สามารถดาวน์โหลดคู่มือการเขียนเอกสารอ้างอิงได้ที่ลิงก์ https://ieeeauthorcenter.ieee.org/wp-content/uploads/IEEE-Reference-Guide.pdf โดยมีรายละเอียดดังนี้
- บทความที่มีจำนวนผู้เขียนไม่เกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อตามรูปแบบภาษา ให้ครบทุกคน หากเกิน 6 คน ให้ใส่ ชื่อคนแรก และระบุ "et al." ในภาษาอังกฤษ หรือ ระบุ "และคณะ" ในบทความภาษาไทย
- การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง (In-text citations) เป็นระบบตัวเลข (Numbering system) ระบุตามลำดับที่อ้างอิงในเนื้อหาบทความ ไม่ใช้การเรียงตามตัวอักษรของชื่อผู้เขียน โดยมีตัวอย่างการเขียน เช่น [1] หรือ [2] หรือ [1], [2] หรือ [1], [3]-[8] หรือ [9], [10], [15], [16] หากมีการอ้างอิงซ้ำบทความเดิมให้ใช้หมายเลขเดิม ในกรณีมีการอ้างอิงในเนื้อหาด้วยการกำหนดชื่อผู้แต่งบทความให้เขียนตามตัวอย่าง ดังนี้ S. Karukanan [1] หรือ A. Agarwal et al. [2]
ในการอ้างอิงส่วนท้าย (Reference list) จะต้องเรียงตามลำดับบทความที่เขียนอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ซึ่งจำแนกรูปแบบการเขียนอ้างอิงส่วนท้ายได้ดังต่อไปนี้
การอ้างอิงจากวารสาร/บทความ
รูปแบบ:
- K. Author, “Name of paper,” Abbrev. Title of Periodical, vol. x, no. x, pp. xxx-xxx, Abbrev. Month, year.
- K. Author, “Name of paper,” Abbrev. Title of Periodical, vol. x, no. x, pp. xxx-xxx, Abbrev. Month, year, doi: xxx.
ตัวอย่าง:
- M. Ito et al., “Application of amorphous oxide TFT to electrophoretic display,” J. Non-Cryst. Solids, vol. 354, no. 19, pp. 2777–2782, Feb. 2008.
- M. M. Chiampi and L. L. Zilberti, “Induction of electric field in human bodies moving near MRI: An efficient BEM computational procedure,” IEEE Trans. Biomed. Eng., vol. 58, pp. 2787–2793, 2011, doi: 10.1109/TBME.2011.2158315.
- E. P. Wigner, “On a modification of the Rayleigh–Schrodinger perturbation theory,” (in German), Math. Naturwiss. Anz. Ungar. Akad. Wiss., vol. 53, p. 475, 1935.
การอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
รูปแบบ:
- J. K. Author, “Title of thesis,” M.S. thesis, Abbrev. Dept., Abbrev. Univ., City of Univ., Abbrev. State, year.
- J. K. Author, “Title of dissertation,” Ph.D. dissertation, Abbrev. Dept., Abbrev. Univ., City of Univ., Abbrev. State, year.
ตัวอย่าง:
- J. O. Williams, “Narrow-band analyzer,” Ph.D. dissertation, Dept. Elect. Eng., Harvard Univ., Cambridge, MA, USA, 1993.
- N. Kawasaki, “Parametric study of thermal and chemical nonequilibrium nozzle flow,” M.S. thesis, Dept. Electron. Eng., Osaka Univ., Osaka, Japan, 1993.
การอ้างอิงจากการประชุมทางวิชาการ
รูปแบบ:
- J. K. Author, “Title of paper,” in Abbreviated Name of Conf., (location of conference is optional), (Month and day(s) if provided) year, pp. xxx-xxx.
ตัวอย่าง:
- A. Amador-Perez and R. A. Rodriguez-Solis, “Analysis of a CPW-fed annular slot ring antenna using DOE,” in Proc. IEEE Antennas Propag. Soc. Int. Symp., Jul. 2006, pp. 4301–4304.
- C. T. Meadow and D. W. Waugh, “Computer assisted interrogation,” in 1991 Fall Joint Computer Conf., Proc. AFIPS Conf., vol. 29. Washington, DC, USA: Spartan, 1991, pp. 381–394.
- T. S. Hsia, “System identification,” in IEDM Tech. Dig., 1993, vol. 2, no. 8, pp. 6–13.
การอ้างอิงจากเว็บไซต์
รูปแบบ:
- First Name Initial(s) Last Name. "Page Title." Website Title. Web Address (retrieved Date Accessed).
ตัวอย่าง:
- J. Smith and J. Doe. "Obama inaugurated as President." CNN.com. http://www.cnn.com/POLITICS/01/21/obama_inaugurated/index.html (accessed Feb. 1, 2009).
การอ้างอิงจากหนังสือ
รูปแบบ:
- J. K. Author, “Title of chapter in the book,” in Title of His Published Book, xth ed. City of Publisher, (only U.S. State), Country: Abbrev. of Publisher, year, ch. x, sec. x, pp. xxx–xxx.
- J. K. Author, “Title of chapter in the book,” in Title of Published Book, X. Editor, Ed., City of Publisher, State (only U.S.), Country: Abbrev. of Publisher, year, ch. x, sec. x, pp. xxx–xxx.
ตัวอย่าง:
- B. Klaus and P. Horn, Robot Vision. Cambridge, MA, USA: MIT Press, 1986.
- L. Stein, “Random patterns,” in Computers and You, J. S. Brake, Ed. New York, NY, USA: Wiley, 1994, pp. 55–70.
- T. Ogura, “Electronic government and surveillance-oriented society,” in Theorizing Surveillance: The Panopticon and Beyond. Cullompton, U.K.: Willan, 2006, ch. 13, pp. 270–295.
- L. Li, J. Yang, and C. Li, “Super-resolution restoration and image reconstruction for passive millimeter wave imaging,” in Image Restoration—Recent Advances and Applications, A. Histace, Ed., Rijeka, Croatia: InTech, 2012, pp. 25–45.
การอ้างอิงจากสิทธิบัตร
รูปแบบ:
- J. K. Author, “Title of patent,” U.S. Patent x xxx xxx, Abbrev. Month, day, year.
- J. K. Author, “Title of patent,” Country Patent xxx, Abbrev. Month, day, year.
ตัวอย่าง:
- J. P. Wilkinson, “Nonlinear resonant circuit devices,” U.S. Patent 3 624 125, Jul. 16, 1990.
- S. P. Voinigescu et al., Direct m-ary quadrature amplitude modulation (QAM) operating in saturated power mode,” U.S. Patent Appl. 20110013726A1, Jan. 20, 2011.
การอ้างอิงจากรายงาน/รายงานเชิงเทคนิค
รูปแบบ:
- J. K. Author, “Title of report,” Abbrev. Name of Co., City of Co., Abbrev. State, Country, Rep. xxx, year.
ตัวอย่าง:
- E. E. Reber, R. L. Michell, and C. J. Carter, “Oxygen absorption in the earth’s atmosphere,” Aerospace Corp., Los Angeles, CA, USA,Tech. Rep. TR-0200 (4230-46)-3, Nov. 1988.
- J. H. Davis and J. R. Cogdell, “Calibration program for the 16-foot antenna,” Elect. Eng. Res. Lab., Univ. Texas, Austin, Tech. Memo. NGL-006-69-3, Nov. 15, 1987.
การอ้างอิงจากมาตรฐาน
รูปแบบ:
- Title of Standard, Standard number, Corporate author, location, date.
- Title of Standard, Standard number, date.
- Title of Standard, Standard number, Corporate author, location, date. [Online]. Available: http://www.url.com
- Title of Standard, Standard number, date. [Online]. Available: http://www.url.com
ตัวอย่าง:
- Parameter Values for Ultra-High Definition Television Systems for Switzerland, Production and International Programme Exchange, Rec. ITU-R BT.2020-2, International Telecommunications Union, Geneva, Switzerland, Oct. 2015.
- IEEE Criteria for Class IE Electric Systems, IEEE Standard 308, 1969.
- Letter Symbols for Quantities, ANSI Standard Y10.5-1968.
- Frequency Response and Bias, NERC Reliability Standard BAL-003-0.1b, May 2009. [Online]. Available: http://www.nerc.com/files/BAL-003-0_1b.pdf
การส่งต้นฉบับ
- ส่งต้นฉบับบทความเป็นไฟอิเล็กทรอนิกส์ นามสกุล (.docx) พร้อมแนบไฟล์ภาพชนิด .png, .jpg เพิ่มเติม (ถ้ามี)
- ดำเนินการส่งบทความผ่านทางระบบเว็บไซต์ของวารสารวารสารวิชาการเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (ลิงก์ https://sctci-thaijo.org/index.php/dtaj/index) โดยลงทะเบียน (Register) เข้าสู่ระบบ เพื่อนำส่งต้นฉบับบทความ
- เมื่อบทความผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว จะมีข้อความแจ้งจากกองบรรณาธิการส่งไปยังผู้เขียนที่เป็นผู้รับผิดชอบบทความ ให้ผู้เขียนดำเนินการปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะ
ติดต่อสอบถาม
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
โทรศัพท์: 0 2980 6688 ต่อ 2124, 2123
อีเมล admin-dtaj@dti.or.th
Copyright Notice
Authors who publish with Defence Technology Academic Journal agree to the following terms:
- Authors retain copyright and grant the journal right of first publication with the work simultaneously licensed under a Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) that allows others to share the work with an acknowledgment of the work's authorship and initial publication in this journal.
- Authors are able to enter into separate, additional contractual arrangements for the non-exclusive distribution of the journal's published version of the work (e.g., post it to an institutional repository or publish it in a book), with an acknowledgment of its initial publication in this journal.
- Authors are permitted and encouraged to post their work online (e.g., in institutional repositories or on their website) prior to and during the submission process, as it can lead to productive exchanges, as well as earlier and greater citation of published work.