การเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัลสมรรถนะสูงด้านการเตือนภัยพิบัติ

Main Article Content

สุวรรณี อัศวกุลชัย
อรพรรณ คงมาลัย
อัญณิฐา ดิษฐานนท์

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนำไปสู่เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ได้แก่ น้ำท่วม ภัยแล้ง พายุเฮอริเคน และคลื่นความร้อนที่รุนแรง ก่อให้เกิดสาธารณภัยที่มีความรุนแรง ซับซ้อน และส่งผลกระทบในวงกว้าง นานาประเทศจึงต่างให้ความสำคัญ โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติเพื่อบูรณาการการจัดการปัญหาหลากหลายด้านเข้าไว้ด้วยกัน ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบเตรียมพร้อมแห่งชาติในการบริหารจัดการภัยพิบัติ และเสนอแนะแนวทางในการเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัลสมรรถนะสูงด้านการเตือนภัยพิบัติ วิธีการศึกษา วิเคราะห์การบริหารจัดการภัยพิบัติในปัจจุบัน รวบรวมข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) และลงพื้นที่สำรวจ ในระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ถึง 14 ธันวาคม 2564 ผลจากการศึกษาพบว่า โครงสร้างการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อใช้ตัดสินใจในการเตือนภัยในพื้นที่ เป็น top-down ร้อยละ 60-80 ยังไม่มีคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานในทุกภัยพิบัติ (Standard of Practice: SOP) กระบวนการวิเคราะห์และพยากรณ์การเกิดภัยพิบัติต้องใช้ข้อมูลและขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจง เพื่อให้เกิดความถูกต้องและแม่นยำ โมเดลในการพยากรณ์ ณ ปัจจุบัน พยากรณ์ภัยพิบัติได้ในระดับที่แตกต่างกัน อาทิ โมเดลพยากรณ์อุทกภัยแจ้งเตือนล่วงหน้า 3 วัน ที่ระดับความแม่นยำร้อยละ 60-80 ปัจจัยในการจัดการภัยพิบัติโดยเครือข่ายชุมชน คือการสร้างคนในพื้นที่ให้พื้นที่พึ่งตนเอง สำหรับแนวทางในการเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัลสมรรถนะสูงด้านการเตือนภัยพิบัติมุ่งเน้นการยกระดับองค์กรหลักด้านการเตรียมพร้อมในการเตือนภัย พัฒนาและขับเคลื่อนให้เป็นองค์กรดิจิทัลตามมาตรฐานสากล ได้แก่ การประเมินสถานการณ์ปัจจุบันขององค์กร ด้วยการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร การอยากเห็นภาพในอนาคต คือการบูรณาการทุกภาคส่วน การประเมินช่องว่างระหว่างปัจจุบันและวิสัยทัศน์ที่อยากให้เกิด คือ การสร้างผู้นำดิจิทัล และวัฒนธรรมดิจิทัล และกำหนดเป้าหมายและแผนกลยุทธ์เพื่อนำไปสู่การแจ้งเตือนภัยด้วยดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
[1]
อัศวกุลชัย ส., คงมาลัย อ., และ ดิษฐานนท์ อ., “การเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัลสมรรถนะสูงด้านการเตือนภัยพิบัติ”, Def. Technol. Acad. J., ปี 4, ฉบับที่ 9, น. 80–93, ส.ค. 2022.
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. “เป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น.” sdgs.nesdc.go.th. https://sdgs.nesdc.go.th/เกี่ยวกับ-sdgs/เป้าหมายที่-13-การรับมือก/ (วันที่เข้าถึง 3 ธันวาคม 2564)

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. “ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก วันที่ 13 ตุลาคม 2561, 56. ratchakitcha.soc.go.th. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF (วันที่เข้าถึง 11 พฤศจิกายน 2564)

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. “นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(พ.ศ. 2561 – 2580).” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 47 ก. onde.go.th. https://www.onde.go.th/assets/portals/1/files/620425-

Government%20Gazette.PDF (วันที่เข้าถึง 21 พฤศจิกายน 2564)

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. “นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561-2580). onde.go.th. https://onde.go.th/view/1/แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม/TH-TH (วันที่เข้าถึง 1 ตุลาคม 2564)

Deloitte University Press. “Digital Government Transformation, The Journey to Government’s Digital Transformation.” deloitte.com. https://www2.deloitte.com/content/dam/insights/us/articles/digital-transformation-in-government/DUP_1081_Journey-to-govt-digital-future_MASTER.pdf (วันที่เข้าถึง 15 ตุลาคม 2564)

Deloitte. “Corporate Governance A practical Perspective on Global Trends & Best Practice.” cab-inc.com. http://cab-inc.com/wp-content/uploads/2019/06/CAB-2019-CEO-and-Director-Forum-Deloitte-Governance-Workshop-Slides-for-Distribution2.pdf (วันที่เข้าถึง 13 ตุลาคม 2564)

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. “(ร่าง) แผนสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต.” policy.disaster.go.th. http://policy.disaster.go.th/inner.Policy-9.45/download/menu_673/94.1/ (วันที่เข้าถึง 31 ตุลาคม 2564)

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. “แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2570.” sri.disaster.go.th. http://sri.disaster.go.th/upload/minisite/file_attach/69/a32a0390d684304dc132b7e3abcda8be.pdf (วันที่เข้าถึง 3 พฤศจิกายน 2564)

Deloitte University Press. “The Journey to Government’s Digital Transformation.” deloitte.com. https://www2.deloitte.com/content/dam/Deloitte/ca/Documents/public-sector/ca-dup-1081-journey-to-govt-digital-future-aoda.PDF (วันที่เข้าถึง 30 พฤศจิกายน 2564)

Digital Learning Thoughts. “DIGITAL PERSONAL DEVELOPMENT PLANNING.” digitallearningthoughts.blog. https://digitallearningthoughts.blog/2016/09/23/digital-personal-development-planning/ (วันที่เข้าถึง 7 ธันวาคม 2564)

L. Darino, M. Sieberer, A. Vos, and O. Williams. “Performance Management in Agile Organization.” mckinsey.com. https://www.mckinsey.com/business-functions/people-and-organizational-performance/our-insights/performance-management-inagile-organizations (วันที่เข้าถึง 21 พฤศจิกายน 2564)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. “แนวทางพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล.” www.ocsc.go.th. https://www.ocsc.go.th/digital_skills (วันที่เข้าถึง 11 พฤศจิกายน 2564)

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. “Thailand Digital Economy and Society Development Plan.” itu.int. https://www.itu.int/en/ITU-D/Regional-Presence/AsiaPacific/Documents/Events/2016/Apr-Digital2016/S2_Present_Pansak_Siriruchatapong.pdf (วันที่เข้าถึง 5 ตุลาคม 2564)

Gartner Inc. “When Less Becomes More: The Journey to Digital Government.” gartner.com. www.gartner.com/smarterwithgartner/when-less-becomes-more-thejourney-to-digital-government (วันที่เข้าถึง 9 ธันวาคม 2564)