การออกแบบและการหาค่าที่เหมาะสมทางอากาศพลศาสตร์ของจรวด DTI ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 122 มิลลิเมตร ในย่านความเร็วเหนือเสียง โดยใช้โปรแกรมคำนวณพลศาสตร์ของไหล

Main Article Content

วันชัย เจียจันทร์
เอกพล ใบโพธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ค่าคุณลักษณะอากาศพลศาสตร์สถิตและพลวัตของจรวด DTI-2 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 122 มิลลิเมตร ที่ติดตั้งหัวรบแบบ MRV-U โดยใช้โปรแกรม CFD และออกแบบ หัวรบจรวด โดยใช้วิธีหาค่าที่เหมาะสมที่สุด Optimization Method เพื่อเพิ่มสมรรถนะระยะยิงหวังผล ในย่านความเร็วเหนือเสียง (มัค 1.5-4) จากผลการวิเคราะห์และเปรียบเทียบค่าคุณลักษณะอากาศที่ได้จาก การคำนวณพบว่า ผลลัพธ์ของค่าคุณลักษณะอากาศพลศาสตร์ที่ได้จากการคำนวณโดยใช้โปรแกรม CFD และ การทดสอบอุโมงค์ลม มีความสอดคล้องใกล้เคียงกันคือ มีค่าความแตกต่างไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของค่า คุณลักษณะอากาศพลศาสตร์สถิต และไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ สำหรับค่าคุณลักษณะอากาศพลศาสตร์พลวัต ตลอดทุกค่าความเร็วที่ทำการศึกษา แสดงให้เห็นถึงความเชื่อถือได้ของค่าความถูกต้องของการวิเคราะห์ ค่าคุณลักษณะอากาศพลศาสตร์โดยใช้โปรแกรม CFD จากผลลัพธ์ออกแบบจรวดอากาศใหม่โดยใช้วิธี Optimization ควบคู่กับการใช้โปรแกรม CFD พบว่า ผลลัพธ์ที่ได้คือ รูปแบบหัวรบจรวดที่ออกแบบใหม่ มีสัมประสิทธิ์แรงต้านที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับจรวดที่นำมาศึกษาที่ติดตั้งหัวรบแบบ MRV-U ในขณะที่ ยังคงไว้ซึ่งเสถียรภาพในการเคลื่อนที่ผ่านอากาศ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แรงต้านรวมของหัวรบที่ออกแบบใหม่ โดยใช้กระบวนการหาค่าที่เหมาะสมมีค่าลดลง เฉลี่ยโดยประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น จากผลลัพธ์การลดลง ของค่าสัมประสิทธิ์แรงต้าน แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการเพิ่มสมรรถนะในระยะยิงหวังผลของจรวด ที่ออกแบบหัวรบใหม่ได้อย่างเป็นรูปธรรม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
[1]
เจียจันทร์ ว. และ ใบโพธิ์ เ., “การออกแบบและการหาค่าที่เหมาะสมทางอากาศพลศาสตร์ของจรวด DTI ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 122 มิลลิเมตร ในย่านความเร็วเหนือเสียง โดยใช้โปรแกรมคำนวณพลศาสตร์ของไหล”, Def. Technol. Acad. J., ปี 4, ฉบับที่ 10, น. 90–107, ต.ค. 2022.
บท
บทความวิจัย

References

W. Jiajan and N. Sukuprakan, “Aerodynamic Analysis of Supersonic 2.75 inch Fin -Stabilized Rocket using Computational Fluid Dynamics,” NKRAFA J.Sci.Technol., vol. 3, no. 13, pp. 34 - 44, 2017.

Pattarakorn. “สทป. ยิงทดสอบจรวดขนาด 122 มม. (ไม่นำวิถี) ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนา ระบบจรวดสมรรถนะสูงแบบ DTI-2.” DTI.or.th. https://www.dti.or.th/page_bx.php?lang=eng &cid=27&cno=6156 (วันที่เข้าถึง ก.ค. 17, 2565).

A. Sumnu, I. H. Guzelbey, and O. Ogucu, “Aerodynamic Shape Optimization of a Missile Using a Multi-objective Genetic Algorithm,” J. Aerosp. Eng., vol. 2020, pp. 1-17, 2020, doi: 10.1155/2020/1528435.

W. Jiajan, R. S. M. Chue, T. Nguyen, and S. Yu, “Optimisation of Round Bodies for Aerodynamic Performance and Stability at Supersonic Speeds,” Aeronaut. J., vol. 117, no. 1193, pp. 661 - 685, 2013.

W. Jiajan, R. S. M. Chue, T. Nguyen, and S. C. M. Yu, “Boattail Juncture Shaping for Spin-stabilized Rounds in Supersonic Flight,” Shock Waves, vol. 25, no. 2, pp. 189 - 204, 2015.

J. DeSpirito, “Effects of Base Shape on Spin-Stabilized Projectile Aerodynamics,” in 26th AIAA Appl. Aerodynamics Conf., Honolulu, Hawaii, 2008.

K. J. Beers, NumericalMethod for Chemical Engineering Applications in MATLAB. New York, USA: Cambridge Univ. Press, 2006.

R. L. McCoy, “MC Drag - A Computer Program for Estimating the Drag Coefficients of Projectiles,” U.S. Army Armament Research & Development Command, MD, USA, Tech. Rep. ARBRL-TR-02293, 1981.

FLUENT, 2016, “FLUENT 16 User’s Guide,” ANSYS, Inc.

F. R. Menter, “Two-Equation Eddy -Viscosity Turbulence Models for Engineering Applications,” AIAA j., vol. 32, no. 8, pp.1598-1650, 1994.

P. Weinacht and W. Sturek, “Navier-Stokes Predictions of Pitch Damping for Finned Projectiles Using Steady Coning Motion,” in Proc. AIAA 8th Appl. Aerodynamics Conf., AIAA, Washington, D.C., USA, 1990, pp. 632 – 642.