การวิเคราะห์ข้อมูลอาวุธปล่อยนำวิถีแบบอากาศสู่พื้นและอาวุธอันตรายสูงของโลก

Main Article Content

พีระยุทธ สารตายน

บทคัดย่อ

เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอการแปลงข้อมูลทางการทหารไปสู่ดิจิทัลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือทางสถิติและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมทั้งความเชี่ยวชาญและการสืบค้นทางวิศวกรรมการทหาร โดยใช้กรณีศึกษาเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีแบบต่าง ๆ ของโลกและค่าใช้จ่ายทางการทหาร โดยเริ่มจากการนำหลักการทางวิชาการและทฤษฎีด้านข้อมูลและสารสนเทศ มาใช้ศึกษาธรรมชาติของข้อมูล ทำการแสดงผล และวิเคราะห์เชิงสถิติแบบต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ โดยใช้ฐานข้อมูลจากนิตยสาร Jane’s Defense ผลการศึกษาข้อมูลอาวุธปล่อยแบบอากาศสู่พื้นเทคโนโลยีสูงแสดงให้เห็นว่ามีประเทศผู้มีบทบาทเป็นผู้เล่นหลัก (Big players) ของโลกอยู่ 5 ประเทศ/กลุ่มประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน อิสราเอล และโครงการความร่วมมือของสหภาพยุโรป การสร้างภาพข้อมูลแสดงให้เห็นว่า อาวุธอันตรายเหล่านี้มักถูกพัฒนาจากประเทศขนาดใหญ่หรือมีภัยคุกคามสูง เราพบว่า จีน รัสเซีย และปากีสถาน ซึ่งมีภัยคุกคามทางบกสูง เลือกที่จะพัฒนาอาวุธปล่อยทางบก (Land-based missile) จำนวนมาก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาเลือกที่จะพัฒนาอาวุธปล่อยทางทะเลจำนวนมาก (Sea-based ballistic missile) เนื่องจากมีพื้นที่ติดกับมหาสมุทร การวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลอาวุธอันตราย โดยใช้ปริมาตรของขีปนาวุธมาพล็อตแผนภาพการกระจาย (Scatterplot) พบว่า “ปริมาตรและน้ำหนัก” ของขีปนาวุธมีค่าสหสัมพันธ์ที่สูงกว่า “ปริมาตรและพิสัย” ดังนั้น พิสัยซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงอันตรายของขีปนาวุธ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับชนิดของระบบขับเคลื่อน (Propulsion) ความเร็วต้น (Initial velocity) รวมทั้งชนิดของหัวรบ (Warhead) ด้วย รวมทั้งใช้จำแนกประสิทธิภาพของอาวุธได้ จากการวิเคราะห์ผลและการจัดประเภทต่าง ๆ ของอาวุธนำวิถี นอกจากจะสามารถสรุปคุณลักษณะที่สำคัญของอาวุธนำวิถีที่มีความร้ายแรงสูงแล้ว ยังสามารถสรุปได้ว่า จรวด D1G ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) น่าจะจัดเป็นอาวุธนำวิถีที่มีความอันตรายค่อนข้างต่ำ เนื่องจาก สทป. ถูกจัดตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2552 จากการพัฒนาวิจัยจรวดและลดการนำเข้าและจัดหาอาวุธจากต่างประเทศ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการเปรียบเทียบและการศึกษาแนวโน้มของงบประมาณที่กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ใช้จ่ายไปในทางการทหารในปัจจุบัน รวมทั้งพยากรณ์งบประมาณที่คาดว่าประเทศไทยจะใช้ในปี พ.ศ. 2564 โดยใช้หลักเส้น
กราฟที่เหมาะสมที่สุดในการแทนที่กลุ่มข้อมูล (Curve fitting) ทั้งนี้ พบว่าประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้งบประมาณทางทหารที่ลดลงเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตามเพื่อตรวจสอบข้อสันนิษฐานและผลการวิเคราะห์ดังกล่าวผู้เขียนได้เปรียบเทียบกับข้อมูลค่าใช้จ่ายทางการทหารของประเทศไทยที่ทางนิตยสาร Jane’s Defense ได้เก็บไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2553 และจำแนกไว้เป็นหมวดหมู่และได้ข้อสรุปที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
[1]
สารตายน พ., “การวิเคราะห์ข้อมูลอาวุธปล่อยนำวิถีแบบอากาศสู่พื้นและอาวุธอันตรายสูงของโลก”, Def. Technol. Acad. J., ปี 3, ฉบับที่ 8, น. 76–91, ส.ค. 2021.
บท
บทความวิจัย

References

ราชกิจจานุเบกษา. 2562. พระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ.2562. เล่ม 136 ตอนที่ 6 ก. หน้า 17 – 38.

ปรีชา ประดับมุข. 2563. ประกาศสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ที่ 18/2563. เรื่อง การแบ่งส่วนงาน กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ และกำหนดอำนาจการบังคับบัญชา. จำนวน 27 หน้า.

วศิน ศิวสฤษดิ์. 2564. Data Analysis and Digital Transformation” – เอกสารประกอบการอบรม, หลักสูตร Smart Executive Development Beyond. สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์. มธ

พีระยุทธ สารตายน. 2563. แนวทางการสร้าง สทป. ให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีป้องกันประเทศ - Guidelines for Defence Technology

Excellence Center Development. เอกสารนำเสนอ Process Innovation Project หลักสูตร Smart Supervisor-2. สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ.

Scott Tilley. 2019. Systems Analysis and Design. 12th Edition. Cengage Learning. San Francisco, CA. 576 p.

Juso Jonatan & Hilden Koponen. 2019. Data Visualization Handbook. Aalto-yliopisto, Aalto University. Finland. 352 p.

Paul Kinley. 2016. Data Analytics for Beginners: Basic Guide to Master Data Analytics. CreateSpace Independent Publishing

Platform. Amazon. 86 p.

สาคร เมฆรักษาวนิช. 2563. ระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีป้องกันประเทศ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีป้องกันประเทศ. ปีที่ 2 ฉบับที่ 5 พฤษภาคม – สิงหาคม

หน้า 4 – 15.

Valérie Lavigne & Denis Gouin. 2011. Applicability of Visual Analytics to Defence and Security Operations. 16th Research and Technology Symposium International Command and Control “Collective C2 in Multinational Civil-Military Operations” (ICCRTS 2011), Quebec Canada, June 21-23.