แบบจำลองเชิงคาดการณ์อาชญากรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบสถานีตำรวจภูธรช้างเผือก จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอาชญากรรมและคาดการณ์การเกิดอาชญากรรมคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ในพื้นที่ศึกษา การศึกษาได้รวบรวมข้อมูลของการเกิดเหตุคดีอาชญากรรมจากสถานีตำรวจภูธรช้างเผือก จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2558-2560 เพื่อนำมาทำการวิเคราะห์รูปแบบทางพื้นที่ของการเกิดอาชญากรรมด้วยการวิเคราะห์จุดวิกฤต (Hotspot analysis) ของตำแหน่งการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ศึกษา โดยพบว่าเหตุอาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์ในพื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่เขตเศรษฐกิจ เขตพาณิชยกรรม และเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่น โดยเฉพาะเกิดขึ้นมากในช่วงเวลา 22.00 น. ไปจนถึง 02.00 น. จากรูปแบบและความสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถนำไปสู่การวิเคราะห์คาดการณ์พื้นที่เกิดอาชญากรรมประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ด้วยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในรูปแบบจำลองกริด ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับการพัฒนาแบบจำลองเชิงการคาดการณ์ ด้วยสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ โดยผลลัพธ์ของการคาดการณ์การเกิดอาชญากรรมประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ ปี 2559 ในพื้นที่ศึกษามีค่าระดับสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 0.683 โดยได้ประเมินความคลาดเคลื่อนเชิงพื้นที่ของผลลัพธ์ด้วยวิธีการ RMSE พบว่า พื้นที่ที่มีค่าความคลาดเคลื่อนต่ำมีจำนวนคิดเป็นร้อยละ 86.92 ของพื้นที่ทั้งหมดจากการคาดการณ์ ซึ่งถือได้ว่าแบบจำลองมีความคลาดเคลื่อนอยู่ในระดับต่ำที่ยอมรับได้ต่อการคาดการณ์
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
วิฑูรย์ จรัสเสนากุล. 2547. การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนิเวศวิทยาของเมืองกับการเกิดอาชญากรรม: กรณีศึกษาคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.
กิติพงษ์ ใสยะ. 2550. การแจกกระจายและการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรรถจักรยานยนต์ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระเชิงวิจัยทางภูมิศาสตร์ภาควิชาภูมิศาสตร์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2561. สถิติประชากร. ระบบสถิติทางการทะเบียน [ระบบออนไลน์]. http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php.
สัญญา สราภิรมย์. 2550. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สถานีตำรวจภูธรช้างเผือก. ม.ป.ป. “สถานภาพอาชญากรรม”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://changpuak.chiangmaipolice.go.th/index.php?page=about4. (วันที่ 4 มกราคม 2561)
ธีรไนย ศรีธรรมรงค์. 2559. การประเมินพื้นที่เสี่ยงการเกิดอาชญากรรมด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงพื้นที่ [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา ithesisir.su.ac.th/dspace/bitstream/.../1/57311305%20ธีไนย%20ศรีธรรมรงค์.pdf. (วันที่ 2 สิงหาคม 2561)
มณฑล เยี่ยมไพศาล และมานัส ศรีวณิช. 2553. ความหนาแน่นเชิงพื้นที่อาชญากรรม กรณีศึกษา
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ศึกษาตามแบบเคอร์เนล. แหล่งที่มา tds.tu.ac.th (วันที่ 25 สิงหาคม 2561)
ทับทิม วิเศษสมุน. 2556. การวิเคราะห์รูปแบบด้านเวลาและสถานที่ของอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลประชาชื่น. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาwww.arts.chula.ac.th/~geography/Senior%20project/Tubtim%202013.pdf