การสร้างและออกแบบหุ่นยนต์ ABU 2018 “ลูกช่วงมังกรบิน”

Main Article Content

สุประวิทย์ เมืองเจริญ

บทคัดย่อ

ในงานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างหุ่นยนต์ให้สามารถทำภารกิจ“การโยนลูกช่วง” โดยการประยุกต์ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์รุ่นอาดูโน่ในการควบคุมระบบกลไกทั้งหมดของหุ่นยนต์ โดยการรับสัญญาณอินพุตจากจอยสติ๊กเพลย์สเตชันไร้สายสำหรับอาดูโน่ เพื่อส่งสัญญาณไปควบคุมชุดขับเคลื่อนมอเตอร์และชุดควบคุมระบบนิวเมติก หุ่นยนต์ทั้ง 2 ตัว หุ่นยนต์บังคับมือ และหุ่นยนต์อัตโนมัติ โดยภารกิจเริ่มจากพื้นที่สตาร์ทหุ่นยนต์บังคับมือ แล้วทำการบังคับหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่บรรจุ เพื่อไปหยิบลูกช่วงจำนวน 2 ลูก จากชั้นวาง หลังจากนั้นส่งลูกช่วงให้กับหุ่นยนต์อัตโนมัติซึ่งรอรับอยู่ในพื้นที่สตาร์ทหุ่นยนต์อัตโนมัติ เพื่อทำการโยนลูกช่วงในบริเวณการโยนลูกช่วงซึ่งเป็นจุดบริเวณโยนลูกที่ 1 และจุดบริเวณโยนลูกที่ 2 ส่วนภารกิจสุดท้ายหุ่นยนต์บังคับมือเคลื่อนที่ไปหยิบลูกช่วงสีทองจำนวน 1 ลูก ส่งให้กับหุ่นยนต์อัตโนมัติซึ่งรอรับอยู่ เพื่อทำการโยนลูกช่วงในจุดบริเวณโยนลูกที่ 3 ผลปรากฏว่า หุ่นยนต์ทั้ง 2 ตัว คือ หุ่นยนต์บังคับมือและหุ่นยนต์อัตโนมัติ สามารถทำภารกิจได้สำเสร็จครบถ้วนภายในเวลา 3 นาที ตามข้อกำหนดของกฎกติกา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
[1]
เมืองเจริญ ส., “การสร้างและออกแบบหุ่นยนต์ ABU 2018 ‘ลูกช่วงมังกรบิน’”, Def. Technol. Acad. J., ปี 2, ฉบับที่ 4, น. 62–69, เม.ย. 2020.
บท
บทความวิจัย

References

ดอนสัน ปงผาบ, “ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC และการประยุกต์ใช้งาน”, กรุงเทพฯ, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2550.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, “การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C (Programming with C)”, กรุงเทพฯ, ซีเอ็ด ยูเคชั่น, 2552.

โอภาส ศิริครรชิตถาวร, “เปิดโลก 32 บิต กับ STM32-Discovery”, กรุงเทพฯ, วี เจ พริ้นติ้ง, 2552.

นคร ภักดีชาติ และชัยวัฒน์ ลิ้มพรจิตรวิไล, “ปฏิบัติการไมโครคอนโทรลเลอร์ ARM Cortex-M3 กับ STM32”, กรุงเทพฯ, อินโนเวตีฟเอ็กเพอริเมนต์, 2552.

บุญสืบ โพธิ์ศรี และคณะ, “งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น”, กรุงเทพมหานคร, วีพริ้นท์, 2555.

Wikipedia. หุ่นยนต์. แหล่งที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/หุ่นยนต์. 1 พฤศจิกายน 2561.

สหพล เลิศวิริยะไพศาล และคณะ, “การพัฒนาระบบควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์”. วารสารคณิตศาสตร์ MJ-MATh 61(688), มกราคม-เมษายน, 2559, หน้า 1-8.

กฤษดา ขันกสิกรรม และยศวัฒน์ พิลาถ้อย, “การพัฒนาหุ่นยนต์สำรวจแบบกึ่งอัตโนมัติบนโยโยแพลทฟอร์ม”, วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 มกราคม-ธันวาคม 2559, หน้า 1-14.

สุประวิทย์ เมืองเจริญ, “การศึกษาและประยุกต์ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์แบบ Arduino MEGA ในการควบคุมหุ่นยนต์ ABU 2016”, การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 2, วันที่ 31 มีนาคม 2560, หน้า 322–329.

Supavit Muangjaroen, “A Study of using Arduino for ABU 2015 Robot Control”, The 6th International Symposium on the Fusion of Science and Technologies (ISFT2017), Jeju, S.KOREA 17–21 July, 2017, pp.(25)

สุประวิทย์ เมืองเจริญ และภูสิทฐ บวรวัฒนดิลก, “การสร้างและออกแบบหุ่นยนต์ ABU 2017 “ยุทธการจานร่อน”, การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 10,วันที่ 1-3 สิงหาคม 2561, หน้า 922–929.

สุประวิทย์ เมืองเจริญ และภูสิทฐ บวรวัฒนดิลก, “การออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ต่อสู้”.การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 10, วันที่ 1-3 สิงหาคม 2561, หน้า 930–939.