นโยบายออฟเซตเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย

Main Article Content

บดินทร์ สันทัด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุุดมุ่งหมาย 3 ประการ ประการแรก เพื่ออธิบายหลักการพื้นฐานด้านความหมาย แนวทางนโยบายทั้งด้านประโยชน์และข้อพึงระวังประกอบกัน ตามด้วยข้อมููลนโยบายและองค์ประกอบเบื้องต้นของออฟเซต (offset) ประการที่สอง รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมููลนโยบายออฟเซตผ่านกรณีศึกษาจากต่างประเทศจากประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซียและเกาหลีใต้ในฐานะประเทศที่มีนโยบายนี้ใช้มาก่อนว่ามีรายละเอียดกระบวนการขั้นตอนความสำเร็จและความเสี่ยงอย่างไร ประการที่สาม ทำการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมููลเพื่อการสร้างข้อเสนอแนะและแนวทางไปสู่การวางนโยบายและการกำหนดค่าออฟเซตพารามิเตอร์ (offsetparameter) ต่าง ๆ ของประเทศไทยในอนาคต บทความวิจัยนี้ได้มีวิธีการศึกษาดำเนินการวิจัยด้วยการค้นคว้ารวบรวมข้อมููลจากตำราทางวิชาการ เว็บไซต์ข่าว ฐานข้อมููลออนไลน์ตัวบทกฎหมาย บทความวิชาการ บทวิเคราะห์ และการสัมภาษณ์โดยเฉพาะด้านการจัดหาระหว่างประเทศที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ในอดีตโดยเริ่มจากศึกษาหลักการเบื้องต้นของออฟเซตแล้วจึงรับเอาตัวอย่างรายละเอียดโครงการออฟเซตของต่างประเทศมาวิเคราะห์ต่อไปทั้งโอกาสและความท้าทายในอนาคต บทความ วิจัยนี้ค้นพบว่านโยบายออฟเซตเป็นองค์ความรู้ด้านการจัดหาเชิงยุุทธศาสตร์โดยเฉพาะสินค้าด้านการป้องกันประเทศที่ไม่ใช่ได้รับเพียงสินค้าดังกล่าวมาใช้งานในประเทศเท่านั้นแต่ยังมีการกำหนดข้อผููกพันให้ประเทศผู้ขายสนับสนุุนและสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในประเทศผู้ซื้้อ เป็นการชดเชยการใช้งบประมาณดังกล่าวด้วย องค์ความรู้ทางนโยบายดังกล่าวในปัจจุุบันยังขาดแคลนความรับรู้ในประเทศไทยแต่เป็นนโยบายที่มีใช้จริงในต่างประเทศอย่างหลากหลาย การศึกษาคุุณลักษณะทางนโยบายของต่างประเทศจำนวน 3 ประเทศ ถือเป็นจุุดเริ่มต้นที่ดีในการศึกษาเชิงลึกเพื่อการวางนโยบายภาครัฐด้านการจัดหาสินค้าเทคโนโลยีชั้นสููงของไทยในอนาคต ส่วนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายนั้นมีดังต่อไปนี้ ข้้อแรก นโยบายออฟเซตสมควรจัดเป็นวาระเร่งด่วนของรัฐบาล ข้้อที่สอง รายละเอียดนโยบายออฟเซตของไทยในช่่วง 5 ปี แรก ควรมีการกำหนดเพดานมููลค่าออฟเซต (offset threshold) อยู่ที่ 1,000 ล้านบาท แล้วค่อย ๆ ลดลงมาเหลือ 500 ล้านบาท โดยกำหนดมููลค่าออฟเซต (offsetvalue) อยู่ที่ 20% ก่อนแล้วค่อยเพิ่มขึ้นเป็น 50% ในภายหลังและใช้การคำนวณค่าออฟเซตแบบการคิดเป็นต้นทุุน (cost approach) แบบเดียวกับเกาหลีใต้และกำหนดให้มีองค์ประกอบออฟเซตทังการค้าต่างตอบแทนออฟเซตและการผลิตด้วยชิ้นส่วนภายในประเทศ (countertrade, offset และ localcontent) แบบเดียวกับอินโดนีเซีย ข้อที่สาม คือ ในการดำเนินนโยบายต้องคำนึงถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จของนโยบายตามที่นำเสนอในแต่ละด้านอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ข้อสุุดท้าย สมควรพิจารณาโครงการฝึกงานออฟเซต (offsetinternshipprogram) เพื่อศึกษานโยบายออฟเซตในภาคปฏิบััติอีกด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
[1]
สันทัด บ., “นโยบายออฟเซตเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย”, Def. Technol. Acad. J., ปี 1, ฉบับที่ 3, น. 98–120, ม.ค. 2020.
บท
บทความวิจัย

References

Kogila Balakrishnan. Evaluating the Effectiveness of Offsets as a Mechanism for Promoting Malaysian Defence Industrial and Technological Development''. Ph.D.thesis. Cranfield University.

Udis, B. and K.E.Maskus (1991) “Offsets as Industrial Policy: Lessons from Aerospace.” Defence Economics. Vol. 2, No. 2.

Overview of the Agreement on Government Procurement, World Trade Organization, https://www.wto.org/english/tratop_e/gproc_e/gpa_overview_e.htm

Article XXIII: Exceptions to the Agreement, Agreement on Government Procurement, World Trade Organization, https://www.wto.org/english/docs_e/legal_e/gpr-94_02_e.htm#articleXXIII

Guidance Note Offsets, Directive 2009/81/EC on the award of contracts in the fields of defence and security, Directorate General Internal Markets and Services

Offsets in Defense Trade, Bureau of Industry and Security, US Department of Commerce https://www.bis.doc.gov/index.php/other-areas/strategic-industries-and-economic-security-sies/offsets-in-defense-trade

Korean Defence Offset Walkthrough, APEX Translation.

Kogila Balakrishnan and Ron Matthews. "The Role of Offsets in Malaysian Defence Industrialisation''. in: Defence and Peace Economics. By editor Kieth Hartley and Todd Sandler. 4th edition. volume 20. New York: Routledge.

Kogila Balakrishnan. Malaysia: Do offsets work?,” Evaluating the Effectiveness of Offsets as a Mechanism for Promoting Malaysian Defence Industrial and Technological Development''. Ph.D.thesis, Cranfield University.

Andi Widjajanto. ASEAN Security Community vs Minimum Essential Force. url: http://www.thejakartapost.com/news/2011/11/24/asean-security-community-vs-minimumessentialforce.

Offset Program Guidelines, Chapter 1. General Provisions, DAPA Standard Operating Procedure (Seoul: Defence Acquisition Program Administration, 2014).

Curie Maharani. Contribution of offset to defence industrialisation in Indonesia, Ph.D.thesis, Cranfield University.

นโยบายออฟเซตเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย, โครงการวิจัย, ฝ่ายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.).