การลดกลิ่นตัวบนผ้าลายพรางดิจิทัลโดยการตกแต่งสำเร็จด้วยบีตาไซโคลเดกซ์ทริน

Main Article Content

กมุท ขวัญข้าว
อรทัย บุญดำเนิน
อุษา แสงวัฒนาโรจน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้แสดงการทำให้ผ้าลายพรางดิจิทัลสามารถลดกลิ่นตัวโดยตกแต่งสำเร็จ (เคลือบ) ผ้า ด้วยสารดูดกลิ่นตัวชนิดบีตาไซโคลเดกซ์ทรินร่วมกับสารช่วยผนึกติดชนิดกรดอะคริลิก โดยตกแต่งสำเร็จผ้าด้วยวิธีและภาวะต่าง ๆ ผลการวิจัยแสดงวิธีและภาวะที่เหมาะสม คือ ตกแต่งสำเร็จผ้าด้วยวิธีการจุ่ม-อัดรีดผ้า 2 รอบ (จุ่มผ้าลงอ่างสารแล้วอัดรีดผ้าด้วยลูกกลิ้ง) ตามด้วยการอบผนึกผ้าที่ 130 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 นาที ใช้สารบีตาไซโคลเดกซ์ทริน 20 กรัมต่อลิตร และกรดอะคริลิก 100 กรัมต่อลิตร ใช้อัตราส่วนน้ำหนักผ้าต่อสาร 1:10 และปริมาณสารบนผ้า 70-80% ของน้ำหนักผ้าแห้ง พบว่าได้ผ้าที่สามารถลดกลิ่นตัวและมีความคงทนต่อการซักล้างอย่างต่ำ 50 รอบ ความแข็งแรงผ้าเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย การดูดซึมน้ำช้าลง ผ้ากระด้างขึ้นและสีไม่เพี้ยนแต่เข้มขึ้น หลังการซักล้าง ผ้าดูดซึมน้ำปกติ ความกระด้างลดลงและสีกลับมาใกล้เคียงสีเดิม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
[1]
ขวัญข้าว ก., บุญดำเนิน อ. ., และ แสงวัฒนาโรจน์ อ., “การลดกลิ่นตัวบนผ้าลายพรางดิจิทัลโดยการตกแต่งสำเร็จด้วยบีตาไซโคลเดกซ์ทริน”, Def. Technol. Acad. J., ปี 5, ฉบับที่ 12, น. 60–69, ก.ค. 2023.
บท
บทความวิจัย

References

บริษัท พิมพ์ย้อมผ้าไทย จำกัด, “Camouflage,” in Military Textiles for Protection and Camouflage, 4th ed., สมุทรปราการ, ไทย, 2560, ch. 2, pp. 24 - 48.

R. H. McQueen and S. Vaezafshar, “Odor in Textiles: A Review of Evaluation Methods, Fabric Characteristics, and Odor Control Technologies,” Text. Res. J., vol. 90, no. 9-10, pp. 1157 - 1173, 2020.

F. M. Bezerra et al., “The role of β-cyclodextrin in The Textile Industry,” Molecules, vol. 25, no. 16, p. 3624, 2020.

อ. แสงวัฒนาโรจน์ และคณะ, “รายงานฉบับ สมบูรณ์โครงการวิจัยการผลิตเสื้อเชิ้ตฝ้าย ปลอดกลิ่นตัว,” สวทช., กรุงเทพฯ, ไทย, 2556.

ณ. ขำจิตร์, “การเตรียมสารซักฟอกสำหรับ การลดกลิ่นตัวและการขจัดคราบบนผ้าพอลิเอส เทอร์ไมโครไฟเบอร์,” วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยี สิ่งทอ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ, ไทย, 2556.

L. Mehraz and M. Nouri, “Preparation and Characterization of β-cyclodextrin Grafted Silk Fabric,” J. Nat. Fibers, vol. 17, no. 3, pp. 371 - 381, 2020.

R. Srioanchan, O. Boondamnoen, and U. Sangwatanaroj, “Anti Odorant Finishing of Silk Fabric with Beta-cyclodextrin,” in PACCON 2022, Bangkok, Thailand, 2022, pp. 502 - 507.

X. Wu et al., “Electrospun Poly (vinyl alcohol) Nanoffiber Films Containing Menthol/ β-cyclodextrin Inclusion Complexes for Smoke Filtration and Flavor Retention,” Colloids Surf. A: Physicochem. Eng. Asp., vol. 605, p. 125378, 2020.

X. Sun et al., “Evaluation on the Inclusion Behavior of β-cyclodextrins with Lycorine and Its Hydrochloride,” J. Mol. Liq., vol. 379, p. 121658, 2023.

D. C. Hooper, G. A. Johnson, and D. Peter, “Deodorant Compositions,” U.S. Patent 4 278 658, Jul. 14, 1981.

C. Wongchoosuk, M. Lutz, and T. Kerdcharoen, “Detection and Classification of Human Body Odor Using an Electronic Nose,” Sensors, vol. 9, no. 9, pp. 7234-7249, 2009.

C. Wongchoosuk, P. Lorwongtragool, and T. Kerdcharoen, “Malodor Detection Based on Electronic Nose,” in Air Quality Monitoring, Assessment and Management, N. A. Mazzeo, Ed., Rijika, Croatia: InTech, 2011, pp. 41 - 66.