การวิจัยและพัฒนาจรวดดับเพลิง

Main Article Content

ไพศาล บุญยะรัตน์
อมร พรชัย
นิกร กุหลาบอ่ำ
พิพัฒน์ จันทิวาเจริญ
ธีรภัทร์ กิตินิรันดร์กูล
นิธิ อนุกูลสัมพันธ์
ปัทพงษ์ ศรีโพธิ์

บทคัดย่อ

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศได้วิจัยและพัฒนาจรวดดับเพลิงโดยเลือกใช้ดินขับจรวดเชื้อเพลิงแข็ง เพื่อใช้สำหรับเป็นเครื่องมือทางเลือกในการนำส่งสารเคมีผงชนิด ABC 90% เข้าไปปล่อยในกลุ่มเพลิงเป้าหมาย เพื่อลดความรุุนแรงของเปลวไฟ ในการสนับสนุนภารกิจการดับเพลิงกับกลุ่มอาคารที่มีความสููงต่ำกว่า 23 เมตร ซึ่งในการวิจัยได้ดำเนินการผลิตและทดสอบจนกระทั่งได้ต้นแบบทั้งในส่วนระบบขับเคลื่อนและระบบการปล่อยกระจายสารดับเพลิง ตลอดจนทำการทดสอบภาคสถิตและภาคพลวัต เพื่อตรวจสอบการทำงานของจรวดและประสิทธิภาพในการหน่วงหรือดับไฟ ผลจากการวิจัย พบว่า ระบบขับเคลื่อนมีการทำงานสมบูรณ์และมีแรงขับเพียงพอสำหรับขับเคลื่อนจรวดดับเพลิงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 89 มิลลิเมตร ยาว 130 เซนติเมตร น้ำหนักรวมไม่เกิน 7 กิโลกรัม ไปสู่เป้าหมายที่ความสูง 23 เมตร ระยะห่างจากจุดตั้งยิง 100 เมตร ค่าคลาดเคลื่อนคาดคะเน (Probable Error) ไม่เกิน 1.25% ของระยะยิง และสามารถปล่อยกระจายสารดับเพลิงชนิดผง ABC 90% ประมาณ 3 กิโลกรัมต่อนัด โดยใช้ชุดระบบหน่วงเวลาอิเล็กทรอนิกส์ให้ครอบคลุมพื้นที่ได้ประมาณ 13 - 30 ตารางเมตร จรวดดับเพลิงสามารถยิงเข้าพื้นที่เป้าหมายโดยการคำนวณจากโปรแกรมอำนวยการยิง และกำหนดเวลาให้สอดคล้องกับพิกัดเป้าหมาย สำหรับประสิทธิภาพในการหน่วงไฟ พบว่า สามารถหน่วงไฟที่กำลังลุกไหม้ในช่วงของปรากฏการณ์ไฟโหมลุกไหม้ (Flashover) ซึ่งมีอุณหภูมิของเปลวเพลิงในช่วง 500 - 1,000 องศาเซลเซียส ที่กำลังจะเข้าสู่ขั้นการลุกลามให้สามารถลดความรุนแรงลง อยู่ในช่วง 200 - 300 องศาเซลเซียสได้ โดยจากการทดสอบกับกองเพลิงจำลองเทียบเคียงกับระดับความสามารถของเครื่องดับเพลิง 3-A และทดสอบกับกองเพลิงที่มีลักษณะเป็นห้องพักผ่อนหรือที่พักอาศัย โดยมีพื้นที่ห้องขนาดกว้าง 5 เมตร และยาว 7 เมตร พบว่า ต้องใช้จรวดจำนวน 8 นัด จึงจะสามารถลดความรุนแรงของกลุ่มเพลิงจากปรากฏการณ์ไฟโหมลุกไหม้ให้ลดลงเข้าสู่สภาวะที่สามารถเข้าไปจัดการกับกองเพลิงด้วยวิธีการอื่นได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
[1]
บุญยะรัตน์ ไ., “การวิจัยและพัฒนาจรวดดับเพลิง”, Def. Technol. Acad. J., ปี 5, ฉบับที่ 12, น. 12–27, ก.ย. 2023.
บท
บทความวิชาการ

References

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, “กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราช บัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522,” ใน ราชกิจจา นุเบกษา, ไทย: สคร., 2535, เล่ม 109 ตอนที่ 11, น. 6 - 23.

ช. โชคชวนันท์. “ถังดับเพลิง ABC และ BC คือ อะไร ทำไมถึงต้องรู้?.” SATURNFIREPRODUCT. com. www.saturnfireproduct.com/article/9 (accessed Apr. 24, 2023).

X. Qiu, “A fire-fighting Device Suitable for Fire Fighting in High-rise and Super High-rise Buildings,” CN Patent 102580278, Dec. 25, 2013.

Sina Corporation. “It is Really for Civilian Use China Aerospace Science and Industry Develops Fire-fighting Missiles and Drones.” PHOTO.SINA.com.cn. http://slide.mil.news. sina.com.cn/l/slide_8_38692_63153.html# p=7 (accessed Apr. 24, 2023).

X. Lin et al., “Unidirectional Spray Type Fire Extinguishing Bomb without High Explosive Fragmentation,” CN Patent 102772865, Nov. 14, 2012.

Shanghai Oriental Press. “The New Realm of Missile Fire Extinguishing is Not Only High-rise Buildings but also Forests.” THEPAPER.cn. https://www.thepaper.cn/newsDetail _forward_5223886 (accessed Apr. 24, 2023).

J. Wuliang, “A Domestically Produced Mysterious Vehicle Suddenly Fired 24 Missiles at the Building, Settling the Situation in one Fell Swoop, and Dubai Rushed to Purchase It.” KKNEWS.cc. https://kknews.cc/other/ 2l4n9z9.html (accessed Apr. 24, 2023).

Sina Corporation. “It is Really for Civilian Use China Aerospace Science and Industry Develops Fire-fighting Missiles and Drones.” PHOTO.SINA.com.cn. http://slide.mil. news.sina.com.cn/l/slide_8_38692_63153. html#p=6 (accessed Apr. 24, 2023).

M. M. Rafi, T. Aziz, and S. H. Lodi, “A Suggested Model for Mass Fire Spread,” Sustain. Resilient Infrastruct., vol. 5, no. 4, pp. 214 - 231, Oct. 2018.

ก. จิตรภิรมย์, “ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอัคคีภัย,” ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, ปีที่ 14, ฉบับที่ 1, หน้า 1 - 17, ม.ค. - มิ.ย., 2557.

พ. บุญยะรัตน์ และ ธ. กิตินิรันดร์กูล, “ปัจจัย ที่มีผลต่อความแข็งแรงในการยึดติดระหว่าง ผิวดินขับจรวดกับผนังท่อในจรวดดับเพลิง,” ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล แห่งประเทศไทย ครั้งที่37, สงขลา, ไทย, 2556, น. 247 – 254.