การหาปริมาตรด้วยความสูงของอาคารจากข้อมูลภาพถ่ายเพื่อใช้ประเมินความเสียหายจากภัยพิบัติ

Main Article Content

ธีรไนย ศรีธรรมรงค์
สุริยะเวช บุญธรารัตน์
สมสฤษฏิ์ สินหนัง

บทคัดย่อ

เนื่องจากปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างต้องเผชิญเหตุการณ์ภัยพิบัติเพิ่มมากขึ้น โดยได้สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชากรโลกเป็นจำนวนมาก ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ภัยพิบัติเช่นกัน ดังนั้นคณะวิจัยจึงเกิดแนวคิดในการบูรณาการองค์ความรู้ระหว่างเทคโนโลยียานไร้คนขับร่วมกับระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหาปริมาตรความสูงของอาคารจากข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศจาก UVS และเพื่อนำวิธีการหาปริมาตรความสูงของอาคารไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันและประเมินความเสียหายด้านภัยพิบัติ พื้นที่ศึกษา คือ พื้นที่อาคารเรียน มหาวิทยาลัยพะเยา ขั้นตอนการศึกษานำอากาศยานไร้คนขับ eBee Plus บินสำรวจและผลิตภาพถ่ายทางอากาศ ผลผลิตที่ได้รับ ได้แก่ ภาพออร์โธโมเสค แบบจำลองพื้นผิวเชิงเลข (DSM) และแบบจําลองระดับสูงเชิงเลข (DTM) จากนั้นนำผลผลิตที่ได้รับไปใช้ในการหาปริมาตรความสูงของอาคาร โดยทำการตัดความสูงของ DTM ออกจาก DSM ให้เหลือเพียงค่าความสูงของวัตถุบนพื้นโลก (DSM) เท่านั้น และแสดงผลร่วมกับฐานข้อมูลอาคารที่ทำการจำแนกจากภาพออร์โธโมเสค ผลการศึกษาพบว่า ความสูงของอาคารที่ได้จากการศึกษามีค่าอยู่ระหว่าง 6-14 เมตร จากการศึกษานี้ทำให้ได้รับองค์ความรู้ในเรื่องการหาปริมาตรความสูงของอาคารจากข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันและประเมินความเสียหายด้านภัยพิบัติได้ในอนาคตต่อไป

Downloads

Article Details

How to Cite
[1]
ศรีธรรมรงค์ ธ., บุญธรารัตน์ ส., และ สินหนัง ส., “การหาปริมาตรด้วยความสูงของอาคารจากข้อมูลภาพถ่ายเพื่อใช้ประเมินความเสียหายจากภัยพิบัติ”, Def. Technol. Acad. J., ปี 2, ฉบับที่ 4, น. 70–77, มี.ค. 2020.
บท
บทความวิจัย

References

United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNISDR). 2018. Disaster Data & Statistics. Available from: www.preventionweb.net/ knowledgebase/disaster-statistics [Accessed 12 March 2020]

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2559. ข้อมูลตัวชี้วัด “จำนวนพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ”. ข้อมูลจาก www.onep.go.th/env_data/2016/01_77 [ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2563]

Eversmann B., 2013, Digital Elevation Models and Relief Shading. Royal University of Agriculture, Faculty of Land Management and Land Administration

Lim YS, La PH, Park JS, Lee MH, Pyeon MW, Kim JI. 2015. Calculation of Tree Height and Canopy Crown from Drone Images Using Segmentation, Journal of the Korean Society of Surveying, Geodesy, Photogrammetry and Cartography, Vol. 33, No. 6, 605-613, 2015.

Marc, B., Dennis, D., Yves, C. & Jean-Paul, D. 2006. Analysis of buildings height computed on a DSM generated from a VHR satellite stereopair. 1st EARSeL workshop of the SIG Urban Remote Sensing Humboldt Universität zu Berlin, 2-3 March 2006.

ชำนาญ ขุมทรัพย์ (2562) การถ่ายทอดเทคโนโลยีของโครงการวิจัยและพัฒนาสู่ภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม (The Technology Transfer of Research and Development Project to Academic and Industrial Sectors). วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (National Defence Studies Institute Journal) ฉบับที่ 2 ปีที่ 10 พฤษภาคม – สิงหาคม 2562, น. 12-25.

รศ.สุเพชร จิรขจรกุล. 2552. เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop 9.3.1. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

Environmental Systems Research Institute, Inc. (ESRI). 2020. Add Surface Information. Available from: https://desktop.arcgis.com /en/arcmap/10.3/tools/3d-analyst-toolbox /add-surface-information.htm [Accessed 12 March 2020]

ธีรศักดิ์ อุปการ และชำนาญ ขุมทรัพย์. 2561. การบินถ่ายภาพด้วย UVS เพื่อวัตถุประสงค์การผลิตแผนที่ภาพถ่ายมาตราส่วนใหญ่. วารสารเทคโนโลยีป้องกันประเทศ. ปีที่ 3 ฉบับที่ 23. กรกฎาคม–กันยายน. น. 88–90.

Most read articles by the same author(s)