การคาดการณ์การลักลอบลำเลียงยาเสพติดด้วยสถิติภูมิศาสตร์

Main Article Content

เบญจมาศ เดชศิริ
อรประภา ภุมมะกาญจนะ โรแบร์

บทคัดย่อ

สถานการณ์การลักลอบลำเลียงยาเสพติดของประเทศไทยมากกว่าร้อยละ 80 ยังคงเป็นพื้นที่ชายแดนภาคเหนือโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดเชียงรายเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับแหล่งเก็บพักยาเสพติดของกลุ่มผู้ผลิตและเป็นเขตอิทธิพลของชนกลุ่มน้อยในประเทศเพื่อนบ้าน จึงถูกจัดให้เป็นพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพราะมีปริมาณยาเสพติดที่นำเข้าในปริมาณมากกว่าแสนเม็ดต่อครั้ง จากสถานการณ์ปัจจุบันและความรุนแรงของผลกระทบที่ตามมาจากการลักลอบนำเข้ายาเสพติด ทำให้เกิดการศึกษาการคาดการณ์การลักลอบลำลียงยาเสพติดด้วยสถิติภูมิศาสตร์ ซึ่งจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศจากการวบรวมข่าวการจับกุมคดียาเสพติดจากแหล่่งข่าวสาธารณะ ศึกษารูปแบบการจับกุมด้วยสถิติแบบครอบคลุมพบว่า ในปีที่ศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2554-2559 มี 2 รูปแบบ คือ แบบสุ่มและแบบเกาะกลุ่ม และนำสถิติแบบเจาะจงศึกษาบริเวณที่มีการลักลอบลำเลียงยาเสพติดสูงและต่ำ ซึ่งมักพบในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนพื้นที่บริเวณจังหวัดเชียงรายพบการลักลอบลำเลียงสูง ในปี พ.ศ. 2556 การคาดการณ์ลักลอบลำเลียงยาเสพติดโดยการวิเคราะห์ทิศทางการกระจายตัวในพื้นที่่ศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จนถึงตำบลเกาะช้าง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เมื่อพิจารณาร่วมกับมูลค่าของกลางยาเสพติดที่จับกุมได้ พบว่าส่วนใหญ่มีการลักลอบลำเลียงยาเสพติดสูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อตรวจสอบความถูกต้องและสมเหตุสมผลของการคาดการณ์ พบว่า การจับกุมในปีถัดไปมีโอกาสเกิดในพื้นที่ที่คาดการณ์มากกว่าร้อยละ 35-80 ทุกปีที่ศึกษา เมื่อนำผลการการวิเคราะห์ด้วยสถิติมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลทางกายภาพ พบว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณที่มีการจับกุมคดียาเสพติดสูงโดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ป่าไม้ซึ่งพื้นที่เกษตรกรรมเป็นการเกษตรใกล้ชุมชน มีการใช้เส้นทางถนนหลักและถนนภายในชุมชนในการลักลอบลำเลียง ซึ่งเป็นการตั้งถิ่นฐานบริเวณหมู่บ้านบนพื้นราบ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
[1]
เดชศิริ เ. และ ภุมมะกาญจนะ โรแบร์ อ., “การคาดการณ์การลักลอบลำเลียงยาเสพติดด้วยสถิติภูมิศาสตร์”, Def. Technol. Acad. J., ปี 1, ฉบับที่ 3, น. 52–61, ธ.ค. 2019.
บท
บทความวิจัย

References

Office of the Narcotics Control Board. (2013). Thailand Narcotics Control Annual Report 2013 : Drug Smuggling Situation. Office of the Narcotics Control Board Retrieved from https://aseannarco.oncb.go.th/download/article/article_20150721113338.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2559). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558-2562 : แนวโน้มสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่. Retrieved from http://www.lampang.go.th/public58/plan_S_59.pdf.

กองกำลังผาเมือง. (2560, มีนาคม). เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการพัฒนาฉากสถานการณ์ฝึกการสกัดกั้นและปราบปรามการลักลอบลำเลียงยาเสพติด 3 มิติ เสมือนจริง. เชียงใหม่: กรมรบพิเศษที่ 5 ค่ายขุุนเณร.

Erdogan, S. (2009). Explorative spatial analysis of traffic accident statistics and road mortality among the provinces of Turkey. Journal of Safety Research, 40(5), 341-351.doi:http://dx.doi.org/10.1016/j.jsr.2009.07.006

Briggs Henan University. (2010). Spatial Autocorrelation: The Single Most Important Concept in Geography and GIS! Introduction to Concepts. Retrieved from http://www.utdallas.edu/~briggs/henan/9SAconcepts.ppt

Rossen, L. M., Khan, D., & Warner, M. (2014). Hot spots in mortality from drug poisoning in the United States, 2007–2009. Health & place, 26, 14-20.

Manochehr Zoghi, “The international Handbook of FRP Composites in Civil Engineering (1st ed.)”, CRC Press Taylor & Francis Group, 2014.

Harries, K. (1999). Mapping Crime: Principle and Practice. Retrieved from https://www.ncjrs.gov/pdffiles1/nij/178919.pdf.