ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างกับการประยุกต์ใช้ทางการทหาร

Main Article Content

กนก บุนนาค

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงการพัฒนาและประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง (Generative Artificial Intelligence: Generative AI) ในด้านการทหาร 2) วิเคราะห์แนวโน้มการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างทางการทหาร ระหว่างปี ค.ศ. 2024 – 2030 และ 3) สังเคราะห์แนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถทางการทหารของประเทศไทยด้วยปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง ผลจากการวิจัยเอกสาร พบว่า บริบทที่สำคัญของการประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างทางการทหารในช่วงแรกนั้น มุ่งเน้นไปที่การนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาในการควบคุมบังคับบัญชาการปฏิบัติการทางทหาร แต่ด้วยขีดความสามารถของปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นส่งผลให้การประยุกต์ใช้งานทางการทหารมีแนวโน้มที่จะขยายขอบเขตออกไปทั้งในระดับยุทธวิธี ยุทธการ และยุทธศาสตร์


แนวโน้มการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างทางการทหารระหว่างปี ค.ศ. 2024 - 2030 สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ การควบคุมบังคับบัญชา การสงครามและการรบ และการสนับสนุนการสงคราม โดยเมื่อพิจารณาถึงความเชื่อมโยงกับระดับการทำสงคราม แนวโน้มการประยุกต์ใช้งานส่วนใหญ่จะเป็นการใช้งานในระดับยุทธวิธี สำหรับระดับยุทธการจะเป็นการใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจในการควบคุมบังคับบัญชา การทำสงครามบนโครงข่ายดิจิทัล การปฏิบัติการจิตวิทยา และการสนับสนุนการสงคราม ในขณะที่การใช้ประโยชน์ทางยุทธศาสตร์จะเป็นการใช้ในกระบวนการตัดสินใจและการปฏิบัติการที่มีผลต่อความเชื่อ ขวัญ และกำลังใจของประชาชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการสงคราม


เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างเป็นเทคโนโลยีสร้างความพลิกผันที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความได้เปรียบในการปฏิบัติการทางทหาร บทวิเคราะห์นี้จึงได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถทางการทหารของประเทศไทยด้วยปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องในการรองรับเทคโนโลยี 2) การสร้างหรือปรับปรุงโมเดลภาษาขนาดใหญ่เพื่อใช้ภายในกองทัพ 3) การกำหนดมาตรการในการใช้งาน และ 4) การริเริ่มประยุกต์ใช้งานกับโครงการพัฒนาขีดความสามารถของกระทรวงกลาโหมและกองทัพไทยที่ได้วางแผนการปฏิบัติไว้แล้ว เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการปฏิบัติงานและขีดความสามารถทางการทหารของประเทศไทยต่อไปในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
[1]
บุนนาค ก., “ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างกับการประยุกต์ใช้ทางการทหาร”, Def. Technol. Acad. J., ปี 6, ฉบับที่ 13, น. 28–41, พ.ค. 2024.
บท
บทวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ

References

K. Martineau. “What is generative AI?.” RESEARCH.IBM.com. https://research.ibm.com/blog/what-is-generative-AI (accessed Dec. 12, 2023).

NVIDIA, “Generative AI.” NVIDIA.com. https://www.nvidia.com/en-us/glossary/data-science/generative-ai (accessed Dec. 12, 2023).

H. Gimpel et al., Unlocking the Power of Generative AI Models and Systems such as GPT-4 and ChatGPT for Higher Education: A Guide for Students and Lecturers. Stuttgart, Germany: Univ. Hohenheim, 2023.

S. Lock. “What is AI Chatbot Phenomenon ChatGPT and Could It Replace Humans?.” THEGUARDIAN.com. https://www.theguardian.com/technology/2022/dec/05/what-is-ai-chatbot-phenomenon-chatgpt-and-could-it-replace-humans (accessed Dec. 20, 2023).

D. E. Wilkins and R. V. Desimone, Applying an AI Planner to Military Operations Planning. San Mateo, CA, USA: Morgan-Kaufmann Publishing, 1993.

K. L. Myers. “Advisable Planning Systems.” CDN.AAAI.org. https://cdn.aaai.org/ARPI/1996/ARPI96-028.pdf (accessed Dec. 13, 2023).

Scribble Data. “Large Language Models 101: History, Evolution and Future.”

SCRIBBLEDATA.io. https://www.scribbledata.io/large-language-models-history-evolutions-and-future (accessed Dec. 15, 2023).

K. Manson. “The US Military Is Taking Generative AI Out for a Spin.” BLOOMBERG. com. https://www.bloomberg.com/news/newsletters/2023-07-05/the-us-military-is-taking-generative-ai-out-for-a-spin (accessed Dec. 15, 2023).

U.S. Department of Defense. “DOD Announces Establishment of Generative AI Task Force.” DEFENSE.gov. https://www.defense.gov/News/Releases/Release/rticle/3489803/dod-announces-establishment-of-generative-ai-task-force (accessed Dec. 21, 2023).

H. - M. Chuang and D. - W. Cheng, “Conversational AI over Military Scenarios Using Intent Detection and Response Generation.” Appl. Sci., vol. 12, no. 5, p. 2494, 2022, doi: 10.3390/app12052494.

W. Marcellino, N. Beauchamp-Mustafaga, A. Kerrigan, L. N.

Chao, and J. Smith, The Rise of Generative AI and the Coming Era of Social Media Manipulation 3.0: and Coping with Ubiquitous AI. Santa Monica, CA, USA: RAND Corporation, 2023.

J. Harper. “Pentagon Requesting More Than$3B for AI, JADC2.” DEFENSESCOOP.com. https://defensescoop.com/2023/03/13/pentagon-requesting-more-than-3b-for-ai -jadc2 (accessed Dec. 21, 2023).

B. Vincent. “Inside Task Force Lima’s Exploration of 180-plus Generative AI Use Cases for DOD.” DEFENSESCOOP.com. https://defensescoop.com/2023/11/06/inside-task-force-limas-exploration-of-180-plus-generative-ai-use-cases-for-dod (accessed Jan. 4, 2024).

C. Malin. “Why the Military Needs Generative AI.” ARMADAINTERNATIONAL.com. https://www.armadainternational.com/2023/10/why-the-military-needs-generative-ai (accessed Jan. 4, 2024).

J. Baughman. “China’s ChatGPT War.” AIRUNIVERSITY.AF.edu. https://www.airuniversity.af.edu/Portals/10/CASI/documents/Research/Cyber/2023-08-21 China's ChatGPT War.pdf (accessed Jan. 4, 2024).

G. C. Allen. “China’s Pursuit of Defense Technologies: Implications for U.S. and Multilateral Export Control and Investment Screening Regimes.” CSIS.org. https://www.csis.org/analysis/chinas-pursuit-defense-technologies-implications-us-and-multilateral-export-control-and (accessed Dec. 23, 2023).

สำนักนโยบายและแผนกลาโหม, “แผนปฏิบัติ ราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) กระทรวงกลาโหม,” สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, กระทรวงกลาโหม, กรุงเทพฯ, ไทย, 2565.

กรมยุทธการทหาร, “แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) กองบัญชาการกองทัพไทย,” กองบัญชาการกองทัพไทย, กระทรวงกลาโหม, กรุงเทพฯ, ไทย, 2565.

น. หัสถีธรรม. “ความท้าทาย ความเป็นไปได้ และโอกาสของ Open Thai GPT แชตบอทสัญชาติไทย.” THESTORYTHAILAND.com. https://www. thestorythailand.com/13/05/2023/99502 (accessed Dec. 21, 2023).