การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการแบ่งปันและการจัดการความรู้ในองค์กร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการประยุกต์ใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการความรู้ในองค์กร ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้อง ประหยัดเวลา และสามารถเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างแผนกหรือระหว่างหน่วยงานทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกที่อยู่ห่างไกลกัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทและมีความสำคัญอย่างมากต่อการจัดการความรู้ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สนับสนุน อำนวยความสะดวกในกระบวนการจัดการความรู้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ทั้งยังช่วยให้องค์กรสามารถจัดเก็บองค์ความรู้ที่องค์กรสั่งสมมาในรูปแบบต่าง ๆ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้รับผลกระทบในการบริหารองค์กร ซึ่งในปัจจุบันเครื่องมือทางด้านสารสนเทศมีส่วนช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านโปรแกรมต่างๆ ดังนั้น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จึงได้กำหนดให้มีการแบ่งปันและใช้ความรู้ในองค์กร โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในองค์กรเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานขององค์กร และให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, “คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้,” กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.ร.: กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร, 2548.
สุชาต จันทรวงศ์, วรชัย เยาวปาณี, บุญมาก ศิริเนาวกุล, วีระชัย คอนจอหอ, “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพจัดการความรู้ด้วยเว็บบล็อก,” วารสารวิชาการราชภัฏตะวันตก, ปีที่ 8, ฉบับที่ 1, หน้า 71-86. 2556.
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. “รูปแบบการจัดการความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ.” http://edu.yru.ac.th/knowledge/page/48/รูปแบบการจัดการความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ.html (เข้าถึงเมื่อ มี.ค. 24, 2565).
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. “แผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2570.” http://www.ict.up.ac.th (เข้าถึงเมื่อ พ.ค. 25, 2563).
เว็บไซต์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. http://www.ict.up.ac.th (เข้าถึงเมื่อ พ.ค. 26, 2563).
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา, “รายงานประจำปี 2562 (อิเล็กทรอนิกส์),” มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา, ประเทศไทย, http://www.ict.up.ac.th (เข้าถึงเมื่อ มี.ค. 24, 2565).
วิจารณ์ พานิช, “การจัดการความรู้กับการบริหารราชการไทย,” กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม, 2548.
สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, “การจดั การความรจู้ ากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ,” กรุงเทพฯ, 2548.
ปณิตา พ้นภัย, “การบริหารความรู้ (Knowledge Management): แนวคิดและกรณีศึกษา,” เอกสารวิจัยภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
สำนักพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต. “ร่างการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน.” http://www.nesdb.go.th/econSocial/natural Resource/attachment/04_3.doc (เข้าถึงเมื่อ มี.ค. 24, 2565).
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ. “มารู้จักระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ให้มากขึ้นกันดีกว่า.” https://www.scimath.org/article-technology/item/10477-mis (เข้าถึงเมื่อ มี.ค. 25, 2565).
ฝ่ายตำราวิชาการคอมพิวเตอร์, “พจนานุกรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ,” กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.
เศรษฐชัย ชัยสนิท, “เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ,” กรุงเทพฯ : โสภณการพิมพ์, 2558.
สุพรรษา ยวงทอง, “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ,” กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด, 2557.
สุกิจจา พงษ์สุวรรณ, “การยอมรับของบุคลากรที่มีต่อการพัฒนาสถานบันการศึกษาไปสู่คณะอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน,” ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ศศ.ม. (รัฐศาสตร์) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547.
สมชาย นำประเสริฐชัย. “เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้.” http://www.vet.cmu.ac.th/KM/document/Tech_KM.pdf. (เข้าถึงเมื่อ มี.ค. 24, 2565).
Aj.Khem. “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการความรู้.” http://ajkhem.blogspot.com/2016/04/blog-post.html (เข้าถึงเมื่อ มี.ค. 25, 2565).
Bollinger, S.A. and Smith, D.R., “Managing organizational knowledge as a strategic asset,” Journal of Knowledge Management, 2001, Vol. 5, No. 1, pp.8-18.