เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสงต้นทุนต่ำโดยใช้วัสดุคอมโพสิตระหว่างพอลิไพโรลและวัสดุคาร์บอนที่แกนกลางเป็นท่อนาโนคาร์บอนที่มีผนังหลายชั้้นและมีแผ่นกราฟีนที่มีโครงสร้างเป็นริบบินล้อมรอบเป็นขั้้วเคาน์เตอร์

Main Article Content

ปณิทัต หาสิน
เหมือนฝัน กลัดแก้ว

บทคัดย่อ

ไพโรล (Py) ที่ถูกพอลิเมอร์ไรซ์บนวัสดุคาร์บอนที่แกนกลางเป็นท่อนาโนคาร์บอนที่มีผนังหลายชั้นและมีแผ่นกราฟีนที่มีโครงสร้างเป็นริบบินล้อมรอบ (MWCNT@rGNR) ได้ถููกนำมาใช้เป็นขั้วเคาน์เตอร์อิเล็กโทรดที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านได้แสดงถึงรายละเอียดสัณฐานวิทยาของวัสดุคอมโพสิต PPy/MWCNT@rGNR ที่ประกอบด้วยแผ่นฟิล์มของ PPy ที่เป็นแผ่นเรียบและมีความหนาแน่นสูงบนแผ่นกราฟีนที่ปกคลุมพื้นผิวของ MWCNT นอกจากนี้ เทคนิคทางรามานยังได้ถูกนำมาใช้เพื่อยืนยันการเกิดแผ่นกราฟีนและปริมาณข้อบกพร่องบนพื้นผิวของวัสดุคอมโพสิต PPy/MWCNT@rGNR เทคนิคไซคลิกโวลเทมเมตทรีถูกนำมาใช้ในการศึกษาประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาเชิงเคมีไฟฟ้าของแผ่นฟิล์ม MWCNT, GONR, rGNR, PPy และ PPy/MWCNT@rGNR และจากผลการทดลองที่ได้จะพบว่าวัสดุคอมโพสิตที่ได้มีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาการรับอิเล็กตรอนของไตร์ไอโอไดด์ที่ดีตามลำดับต่อไปนี้ PPy/MWCNT@rGNR > rGNR > GONR > MWCNT > PPy ยิ่งไปกว่านั้นประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้ PPy/MWCNT@rGNR เป็นขั้วเคาน์เตอร์อิเล็กโทรดมีค่าสูงกว่าเซลล์แสงอาทิิตย์ที่ใช้วัสดุคาร์บอนชนิดอื่นเป็นขั้วเคาน์เตอร์อิเล็กโทรด โดยประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาการรับอิเล็กตรอนของไตร์ไอโอไดด์ที่ดีของวัสดุคอมโพสิตดังกล่าวนั้นเป็นผลมาจากการที่ PPy มีค่าการนำไฟฟ้าสูงและมีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาเชิงเคมีไฟฟ้าที่ดี นอกจากนี้ยังมาจากการที่ rGNR มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนสูงมีพื้นผิวขรุขระมากและมีพื้นที่ผิวสูงที่สามารถช่วยเร่งปฏิกิริยาการรับอิเล็กตรอนของไตร์ไอโอไดด์ได้ดี

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
[1]
หาสิน ป. และ กลัดแก้ว เ., “เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสงต้นทุนต่ำโดยใช้วัสดุคอมโพสิตระหว่างพอลิไพโรลและวัสดุคาร์บอนที่แกนกลางเป็นท่อนาโนคาร์บอนที่มีผนังหลายชั้้นและมีแผ่นกราฟีนที่มีโครงสร้างเป็นริบบินล้อมรอบเป็นขั้้วเคาน์เตอร์”, Def. Technol. Acad. J., ปี 1, ฉบับที่ 3, น. 38–51, พ.ย. 2019.
บท
บทความวิจัย