การพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีอวกาศของชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: โอกาสและแนวทางการพัฒนาสำหรับประเทศไทย

Main Article Content

กนก บุนนาค

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและวิเคราะห์การพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี อวกาศของชาติต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (2) วิเคราะห์โอกาสสำหรับ อุตสาหกรรมอวกาศของประเทศไทยในอนาคต และ (3) สังเคราะห์แนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถ ด้านเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย ผลจากการวิจัยเอกสาร พบว่า ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีอวกาศแล้วในระดับหนึ่ง จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และฟิลิปปินส์ โดยมีแนวโน้มความพยายามหลักในการพัฒนาที่มีความใกล้เคียงกัน ใน 3 ประเด็น คือ (1) ความพยายามในการจัดหาดาวเทียมสื่อสารโทรคมนาคมวงโคจรค้างฟ้าในห้วงแรก (2) การมุ่งเน้น พัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำให้เกิดขึ้นภายในประเทศ และ (3) ความพยายาม ในการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อบูรณาการขีดความสามารถและขับเคลื่อนกิจการอวกาศของชาติ แม้กระนั้น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงขาดขีดความสามารถในการยิงนำส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรได้เอง


ประเทศไทยมีขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีอวกาศอยู่ในระดับชั้นนำของภูมิภาคจากประสบการณ์ และเครือข่ายในการขับเคลื่อนและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงขีดความสามารถด้าน เทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทยในปัจจุบัน ประกอบกับโอกาสจากการที่ประเทศไทยกำลังพิจารณากำหนด นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนผลักดันกิจการอวกาศ รวมทั้งโอกาสในภูมิภาคที่มีแนวโน้มให้ความสำคัญกับ ดาวเทียมวงโคจรต่ำ แต่ยังไม่มีขีดความสามารถในการยิงส่งได้เอง จึงสามารถสังเคราะห์เป็นแนวทางในการพัฒนา ขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทยใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การศึกษาวิจัยระบบนิเวศ ด้านเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทยโดยเทียบเคียงกับต่างประเทศที่มีขีดความสามารถในการเป็นตัวอย่างเป้าหมาย (2) การมุ่งเป้าพัฒนาขีดความสามารถในการนำส่งดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นสู่อวกาศในวงโคจรระดับต่ำที่ยังขาดแคลนอยู่ ของภูมิภาค (3) การบูรณาการขีดความสามารถของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสถาบันการศึกษา ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ของการกำหนดนโยบายด้านกิจการอวกาศ และ (4) การสร้างความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศกับประเทศต่าง ๆ ทั้งกับประเทศที่มีศักยภาพแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาขีดความสามารถดังกล่าว

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
[1]
บุนนาค ก., “การพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีอวกาศของชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: โอกาสและแนวทางการพัฒนาสำหรับประเทศไทย”, Def. Technol. Acad. J., ปี 5, ฉบับที่ 12, น. 28–47, ก.ค. 2023.
บท
บทวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ

References

Morgan Stanley. “The Space Economy’s Next Giant Leap.” MORGANSTANLEY.com. https://www.morganstanley.com/Themes/ global-space-economy (accessed Feb. 15, 2023).

Q. Verspieren and G. Coral, “Introduction: Why Space Matters in ASEAN,” in ASEAN Space Programs: History and Way Forward, Q. Verspieren, M. Berthet, G. Coral, S. Nakasuka, and H. Shiroyama, Eds., Singapore: Springer Singapore, 2022, p. 8.

T. R. Nugraha, Y. M. Putro, R. A. Nugraha, and R. Christiawan, “Indonesian Space Activities: The Long and Winding Road,” Astropolitics, vol. 20, no. 2 - 3, p. 241, 2022.

R. H. Triharjanto, “Development of Micro-satellite Technology at the Indonesian National Institute of Aeronautics and Space (LAPAN),” in 17th CEReS Int. Symp. Proc., Chiba, Japan, 2012, pp. 32 - 39.

eoPortal. “LAPAN-A2 Microsatellite of Indonesia.” EOPORTAL.org. https://www. eoportal.org/satellite-missions/lapan-a2# spacecraft (accessed Feb. 21, 2023).

D. Goh. “Indonesia Aims to Launch an Indigenous Orbital Rocket by 2040.” SPACETECHASIA.com. https://www. spacetechasia.com/indonesia-aims-to -launch-an-indigenous-orbital-rocket-by -2040/ (accessed Feb. 22, 2023).

Y. M. Putro and R. A. Nugraha, “A spaceport in Indonesia’s new capital?.” THEJAKARTAPOST.com http://repository.ubaya.ac.id/42789/1/ Launching a Sub-Orbital Spacecraft.pdf (accessed Feb. 22, 2023).

T. R. Nugraha, Y. M. Putro, R. A. Nugraha, and R. Christiawan, “Indonesian Space Activities: The Long and Winding Road,” Astropolitics, vol. 20, no. 2-3, pp. 238-250.

ท. พงศ์พิพัฒน์. “ดาวเทียมนั้นสำคัญไฉน?.” SENATE.go.th. https://www.senate.go.th/ assets/portals/4/fileups/190/files/ ดาวเทียมนั้นสำคัญไฉน ไม่มีตาราง21-9-61.pdf (วันที่เข้าถึง ก.พ. 22, 2566).

T. Raicharoen, “Thai Satllites: Where are They Headed?” NBTC J., vol. 3, no. 3, pp. 74 - 95, 2019.

S. Jantarang, “THAI-PAHT the Small Satellite for Education,” in The Euro-Asia Space Week on Cooperation in Space–‘Where East & West Finally Meet’, Singapore, Nov. 23-27, 1998, pp. 449 - 452.

รัฐบาลไทย. “คืบหน้ากิจการอวกาศไทยพร้อม ยิงดาวเทียมสำรวจโลกมาตรฐานระดับ industrial grade ดวงแรกของไทยปีนี้.” THAIGOV.go.th. https://www.thaigov. go.th/news/contents/details/64180 (วันที่เข้าถึง เม.ย. 05, 2566).

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การ มหาชน). “เส้นทางดาวเทียมฝีมือคนไทยวารสารวิชาการเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ปีที่ 5 ฉบับที่ 12 / กรกฎาคม - ธันวาคม 2566 46 สู่เป้าหมายใหม่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม.” NARIT.or.th. https://www.narit.or.th/index.php/news/ 1706-thailand-satellite-engineering. (วันที่เข้าถึง มี.ค. 8, 2566).

รัฐบาลไทย “ครม. เห็นชอบแผนแม่บทอวกาศ แห่งชาติพ.ศ. 2566 - 2580 และร่างนโยบายดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติที่รัฐเป็นเจ้าของบริหารจัดการเอง.”THAIGOV.go.th.https:// www.thaigov.go.th/news/contents/ details/62603 (วันที่เข้าถึง ก.พ. 27, 2566).

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิ สารสนเทศ (องค์การมหาชน). “ครม. ไฟเขียว ร่าง พรบ. กิจการอวกาศฯ.” GISTDA.or.th. https://www.gistda.or.th/news_view. php?n_id=2265&lang=TH (วันที่เข้าถึงก.พ. 27, 2566).

N. N. Mahmood, K. F. Loh, and S. Ahmad, “Remote Sensing Research in Malaysia,” in 1997 IEEE Int. Geosci. Remote Sens. Symp. in Remote Sensing - A Scientific Vision for Sustainable Development, vol. 3, 1997, pp. 1418-1420, doi: 10.1109/ IGARSS.1997.606464.

N. A. Ismail, “Space Sector Development in Malaysia,” in ASEAN Space Programs: History and Way Forward, Q. Verspieren, M. Berthet, G. Coral, S. Nakasuka, and H. Shiroyama Eds., Singapore: Springer, 2022, pp. 43 - 55.

D. L. X. Ho, “Singapore, a Sustained Ambition Towards a Commercial Space Sector,” in ASEAN Space Programs: History and Way Forward, Q. Verspieren, M. Berthet, G. Coral, S. Nakasuka, and H. Shiroyama Eds., Singapore: Springer, 2022, pp. 79 - 100.

Office for Space Technology & Industry. “Singapore’s Space Ecosystem.” EDB. gov.sg. https://www.edb.gov.sg/content/ dam/edb-en/our-industries/aerospace/ Singapore's Space Ecosystem.pdf (accessed Mar. 3, 2023).

T. S. Cottom, “An Examination of Vietnam and Space,” Space Policy, vol. 47, pp. 78 - 84, 2019.

P. A. Tuan and L. X. Huy, “Vietnam: An Ambitious Satellite Development Program,” in ASEAN Space Programs: History and Way Forward, Q. Verspieren, M. Berthet, G. Coral, S. Nakasuka, and H. Shiroyama Eds., Singapore: Springer, 2022, pp. 101 - 119.

Airbus.“VNREDSat-1.” AIRBUS.com. https://www.airbus.com/en/products -services/space/earth-observation/ earth-observation-portfolio/vnredsat-1 (accessed Mar. 3, 2023).

Vietnam National Space Center. “Profile of the PicoDragon Satellite.” VNSC. org.vn. https://vnsc.org.vn/en/projects/ profile-of-the-picodragon-satellite. (accessed Mar. 9, 2023).

Vietnam National Space Center. “MicroDragon Satellite Project.” VNSC.org.vn. https:// Defence Technology Academic Journal, Volume 5 Issue 12 / July - December 2023 47 vnsc.org.vn/en/projects/microdragon -satellite-project. (accessed Mar. 9, 2023).

R. M. Sese, “The Philippine Space Program: A Modern Take on Establishing a National Space Program,” in ASEAN Space Programs: History and Way Forward, Q. Verspieren, M. Berthet, G. Coral, S. Nakasuka, and H. Shiroyama Eds., Singapore: Springer, 2022, pp. 57 - 77.

Q. Verspieren, G. Coral, B. Pyne, and H. Roy, “An Early History of the Philippine Space Development Program,” Acta Astronaut., vol. 151, pp. 919 - 927, 2018.

D. Wood and A. Weigel, “Charting the Evolution of Satellite Programs in Developing Countries - The Space Technology Ladder,” Space Policy, vol. 28, no. 1, pp. 15 - 24, 2012.

Spaceth.co.“Space Economy Lifting Off 2021: เปิดโฉมหน้าบริษัทอวกาศในไทย พวกเขาทำอะไรกัน.”SPACETH.co.https:// spaceth.co/thai-space-company (เข้าถึงวันที่ เม.ย. 05, 2566).