ความพึงพอใจในการใช้งานระบบจำลองสถานการณ์น้ำท่วม: กรณีศึกษา อ.ท่าวังผา จ.น่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบจำลองสถานการณ์น้ำท่วม อ.ท่าวังผา จ.น่าน ของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 31 ในการเป็นเครื่องมือช่วยในการเตรียมสนามรบด้านการข่าว ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดสภาพแวดล้อมของพื้นที่สถานการณ์น้ำท่วม 2) การอธิบายผลกระทบของสถานการณ์น้ำท่วม 3) การประเมินค่าภัยคุกคามจากสถานการณ์น้ำท่วม และ 4) การพิจารณาเลือกหนทางปฏิบัติต่อสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการประเมินข้อมูลส่วนบุคคลพบว่าเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 93.3 เพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 6.7 ด้านอายุพบว่าส่วนมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 30-40 ปี และช่วงอายุ 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 40 ด้านประสบการณ์ในการบรรเทาสาธารณภัยและภัยพิบัติพบว่าส่วนมากมีประสบการณ์ในการบรรเทาสาธารณภัยและภัยพิบัติ ต่ำกว่า 8 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.7 ส่วนผลการสำรวจความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบจำลองสถานการณ์น้ำท่วม ด้านการกำหนดสภาพแวดล้อมของพื้นที่สถานการณ์น้ำท่วมมีผลตอบรับที่ดีและไม่มีผลตอบรับในเชิงลบ ด้านการเป็นเครื่องมือช่วยอธิบายผลกระทบของสถานการณ์น้ำท่วม และด้านการเป็นเครื่องมือช่วยประเมินค่าภัยคุกคามจากสถานการณ์น้ำท่วม มีผลการประเมินข้อมูลเชิงปริมาณเป็นพึงพอใจมากที่สุด ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้โดยภาพรวมข้าราชการสังกัด นพค.31 สนภ.3 นทพ. มีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบจำลองสถานการณ์น้ำท่วม อ.ท่าวังผา
จ.น่าน ในการเป็นเครื่องมือช่วยในการเตรียมสนามรบด้านการข่าวโดยมีค่าความพึงพอใจคือ 4.18 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64 นั่นคือมีคะแนนที่เกาะกลุ่มกันในระดับที่ดีและยอมรับได้ มีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบจำลองสถานการณ์น้ำท่วม อ.ท่าวังผา จ.น่าน ในการเป็นเครื่องมือช่วยในการเตรียมข่าวกรองสนามรบ
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
ร. รัตนโสภนณ์, “เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง Intelligence Preparation of the Battlefield,” หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา, กรุงเทพมหานคร, ไทย, 2563.
H. Adikari, S. Agalakumbura, and J. Jayamaha, “Automation of Intelligence Preparation of the Battlefield,” Final Year Project, Dept. Comput. Eng., Univ., Peradeniya, Sri Lanka, 2020.
P. Skalický and T. Palasiewicz, “Intelligence Preparation of the Battlefield as a Part of Knowledge Development,” Int. Conf. Knowl. Based Organ., vol. 23, no. 1, pp. 276-280, 2017, doi: 10.1515/kbo-2017-0045.
L. J. Snider, “An Assessment of Intelligence Preparation of the Battlefield Doctrine for Humanitarian Assistance Operations,” School Adv. Mil. Stud., Fort Leavenworth, Kansas, USA, Rep.19960617 022, 1995.
C. Grindle, M. Lewis, R. Glinton, J. Giampapa, S. Owens, and K. Sycara, “Automating Terrain Analysis: Algorithms for Intelligence Preparation of the Battlefield,” Proc. Hum. Factors Ergon. Soc. Annu. Meet., vol. 48, no. 3, pp. 533 - 537, Sep. 2004, doi: 10.1177/154193120404800355.
W. Pimpa, S. Sarapirome, and S. Dasananda, “GIS Application to Development of Military Cross-country Movement Maps at Mae Sot District, Western Thailand,” Suranaree J. Sci. Technol., vol. 21, no. 3, pp. 215 - 232, 2014.
พ. เหมวรรณ, อ. เจริญปัญญาเนตร, ภ. สิงห์คำฟู, จ. สุขพินิจ และ จ. สีแดง, “การจำลองระดับน้ำท่วม ด้วยข้อมูลแบบจำลองความสูงเชิงเลขจากการ บินถ่ายด้วยระบบอากาศยานไร้คนขับ: กรณีศึกษา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน,” วารสารวิชาการ เทคโนโลยีป้องกันประเทศ, ปีที่ 3, ฉบับที่ 9, น. 108 - 118, ม.ค. - มิ.ย. 2565.